ให้สลามก่อนอีหม่าม (รอเกาะอ์ก่อนอีหม่าม, สูญูดหลังอีหม่ามแต่ถึงก่อนอีหม่าม)  (อ่าน 4462 ครั้ง)

halim

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 38
salam  อ.อาลีที่รัก
ผมมีคำถามกรณีที่มะมูมกระทำก่อนอีหม่ามโดยที่ไม่ได้เนียตฟารอเกาะห์จะมีผลอย่างไรบ้าง
1. รอเกาะอ์ก่อนอีหม่าม
2. สูญูดหลังอีหม่ามแต่ถึงก่อนอีหม่าม
3. ให้สลามก่อนอีหม่ามโดยคิดว่าอีหม่ามให้สลามแล้ว
ละหมาดเสีย หรือว่าไม่ได้ผลบุญอย่างไร ช่วยอธิบายหน่อยครับ
Jazakallah hukhairan  วัสลาม

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته
      الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛

ตอบตามลำดับข้อที่ถามมาได้ดังนี้

1. มะอฺมูมก้มรุกัวอฺก่อนอิหม่าม ถือเป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) เนื่องจากมีอัล-หะดีษที่รายงานโดย อัล-บุคอรียฺและมุสลิมจากอบีฮุรอยเราะฮฺ (ร.ฎ.) ระบุเอาไว้

ส่วนจะมีผลทำให้เสียละหมาดหรือไม่ให้พิจารณาดังนี้ ถ้าหากมะอฺมูมรุกัวอฺก่อนอิหม่ามและไม่เงยขึ้นมาจนกระทั่งอิหม่ามลงรุกัวอฺ การละหมาดไม่เสียไม่ว่าจะเจตนาหรือหลงลืมหรือไม่ก็ตาม เพราะถือเป็นการกระทำที่ขัดแย้งกับการตามอิหม่ามเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ก็ถือตามมัซฮับ อัช-ชาฟีอียฺและปวงปราชญ์

ส่วนประเด็นที่มีเล่าว่าถ้าหากเจตนาถือว่าเสียละหมาดนั้นเป็นทัศนะที่ช๊าษและเฏาะอีฟ (กิตาบอัล-มัจญมูอฺ ชัรหุลมุฮัซซับ 3/132)  และเมื่อกรณีที่ไม่เสียละหมาดมะอฺมูมจะต้องย้อนกลับมาในท่ายืนตรงหรือไม่? กรณีนี้มี 3 ประเด็นในมัซฮับ ประเด็นที่ถูกต้อง (เศาะฮีหฺ) คือ ส่งเสริม (มุสตะหับ) ให้มะอฺมูมกลับไปยืนตรงและลงก้มรุกัวอฺพร้อมกับอิหม่ามแต่ไม่จำเป็น (อ้างแล้ว 3/137)


2. มะอฺมูมก้มลงสุหญูดหลังอิหม่าม  แต่ถึงพื้นก่อนอิหม่าม ไม่ถือว่าเสียละหมาดแต่อย่างใด เพราะเป็นการกระทำที่แตกต่างหรือขัดกับการตามอิหม่ามเพียงเล็กน้อยเหมือนกับรายละเอียดของข้อที่ 1 ที่กล่าวมาแล้ว


3. มะอฺมูมให้สล่ามก่อนอิหม่ามโดยเจตนาและรู้ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม ถือว่าการละหมาดของมะอฺมูมนั้นเสีย ถ้าหากมะอฺมูมไม่ได้เหนียตแยกจากการตามอิหม่าม (มุฟาเราะเกาะฮฺ)

ส่วนถ้ามะอฺมูมเหนียตมุฟาเราะเกาะฮฺ กรณีนี้มีความเห็นต่าง (อ้างแล้ว เล่มที่ 3 หน้า 464) ถ้าถือตามมัซฮับและตัวบทของอิหม่ามอัช-ชาฟีอียฺ ในเกาลุนฺญะดีดฺก็ถือว่าละหมาดของมะอฺมูมที่เหนียตมุฟาเราะเกาะฮฺนั้นใช้ได้พร้อมกับมักรูฮฺ ส่วนเกาลุนเกาะดีม ถือว่าเสียละหมาดถ้าหากไม่มีอุปสรรค (อุซรฺ) ถ้ามีอุปสรรคก็ไม่เสีย

ส่วนมัซฮับอัล-หะนะฟียะฮฺและมาลีกียะฮฺถือว่าการละหมาดของผู้เหนียตมุฟาเราะเกาะฮฺ (มุฟาริก) นั้นใช้ไม่ได้ (อ้างแล้ว เล่มที่ 3 หน้า 144)  ส่วนกรณีที่มะอฺมูมให้สล่ามก่อนอิหม่ามโดยเข้าใจว่าอิหม่ามให้สล่ามแล้ว กรณีนี้ถือว่าไม่เสียละหมาด เพราะเป็นการทำก่อนอิหม่ามเพียงหนึ่งรุ่ก่นซึ่งแตกต่างจากการตักบีรเราะตุลอิหฺรอมของมะอฺมุมก่อนอิหม่ามอันเป็นรุ่ก่นแรกในการเข้าสู่ละหมาด ส่วนกรณีนี้ยังอยู่ในระหว่างการละหมาดและมะอฺมูมเข้าใจผิดโดยไม่มีเจตนา

และจำเป็นที่มะอฺมูมจะต้องย้อนกลับไปยังรุ่ก่นเดิมก่อนการให้สล่ามที่เข้าใจผิดนั้นและตามอิหม่ามด้วยการให้สล่ามหลังจากอิหม่ามให้สล่ามครั้งที่หนึ่ง คือเมื่ออิหม่ามกล่าวตัวอักษรมีมในอะลัยกุมเสร็จสิ้นแล้ว แต่ถ้าไม่ย้อนกลับไปยังรุ่ก่นเดิมแล้วให้สล่ามหลังจากอิหม่ามก็ถือว่าเสียละหมาดเนื่องจากไม่เหนียตมุฟาเราะเกาะฮฺมาก่อนและการไม่ย้อนกลับทั้งๆ ที่รู้ว่าเข้าใจผิดก็กลายเป็นเจตนาแล้วนั่นเอง


ในทุกกรณีที่มะอฺมูมกระทำก่อนอิหม่ามและนักวิชาการถือว่าละหมาดของมะอฺมูมไม่เสียนั้นผลบุญจากความประเสริฐของการละหมาดญะมาอะฮฺไม่เสียไป เพียงแต่เกิดโทษในกรณีที่กระทำก่อนอิหม่ามโดยเจตนา และถึงแม้ว่ามะอฺมูมจะได้รับกุศลจากฟะฎีละฮฺของการละหมาดญะมาอะฮฺแต่ผลบุญของเขาก็ย่อมมีระดับที่รองลงมาจากผู้ที่กระทำละหมาดได้สมบูรณ์กว่าอยู่ดี


والله أعلم بالصواب