เสื้อผ้า  (อ่าน 5954 ครั้ง)

anas

  • บุคคลทั่วไป
เสื้อผ้า
« เมื่อ: ตุลาคม 25, 2010, 03:37:08 pm »
salam คำถามมีอย่างนี้น่ะครับ
1.การใส่กางเกงหรือชุด ซึ่งยาวเลยตาตุ่ม มีอ.บางท่านบอกว่ามันจะไปลากไฟนรก ข้อเท็จจริงมันเป็นอย่างไรครับ เพราะผมเห็นว่ายังมีอีกหลายอ.ที่ใส่ชุดเลยตาตุ่มครับ
2.มัซฮับทั้ง4 มีที่มาอย่างไร และทำไมแต่ละมัซฮับ จึงมีการขัดแย้งกันครับ
ขอบคุณมากๆครับ
วัสสลาม

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : เสื้อผ้า (เลยตาตุ่ม)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 06:30:52 am »
وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛

ข้อ 1- การปล่อยชายผ้านุ่ง (โสร่ง)  หรือกางเกงให้กรอมเท้าเลยตาตุ่มเรียกในภาษาอาหรับว่า \"อัส-สัดลฺ\" (اَلسَّدْلُ) ตามมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺนั้นถือว่าเหมือนกันทั้งในละหมาดและนอกละหมาด (คือมีข้อชี้ขาดเหมือนกัน)  หากปล่อยชายผ้ากรอมเท้าเพื่อเป็นการโอ้อวด (อวดรวย)  ซึ่งในตัวบท อัล-หะดีษใช้สำนวนว่า (لِلْخُيَلَاءِ)  ก็ถือว่าเป็นที่ต้องห้าม (หะรอม)  แต่ถ้าไม่มีการโอ้อวด  ก็ถือว่ามักรูฮฺ (น่ารังเกียจ) และไม่ถึงขึ้นหะรอม  


อัล-บัยฮะกียฺ กล่าวว่า : อัช-ชาฟิอียฺกล่าวไว้ใน อัล-บุวัยฏียฺ ว่า : ไม่อนุญาตให้ปล่อยชายผ้ากรอมเท้าในการละหมาดและอื่นจากการละหมาดอันเนื่องมาจากการโอ้อวด  ส่วนการปล่อยชายผ้ากรอมเท้าโดยไม่ได้มีการอวดโอ้ในละหมาดถือว่าเบา  เนื่องจากท่านนบี (ศ้อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม‎) เคยกล่าวแก่ท่านอบูบักรฺ (ร.ฎ.) ซึ่งกล่าวกับท่านนบีว่า \"แท้จริงผ้าท่อนล่างของฉันมันตก (ห้อย) ลงมาด้านหนึ่ง\"  นบีกล่าวว่า \"ท่านไม่ใช่ส่วนหนึ่งจากพวกนั้น\" (คือพวกที่โอ้อวด)  รายงานโดย อัล-บุคอรียฺ  และอัล-บัยฮะกียฺ กล่าวว่า :  หะดีษของอบูบักรฺเป็นหลักฐานว่าเรื่องนี้เบาเมื่อมิได้เป็นไปเพื่อการโอ้อวด


อัล-คอฏฏอบียฺ กล่าวว่า :  นักวิชาการบางท่านอนุโลมเรื่องชายผ้ากรอมเท้าในละหมาด  และรายงานเรื่องดังกล่าวจาก อะฏออฺ, มักหูล, อัซ-ซุฮฺรียฺ, อัล-หะสัน, อิบนุสีรีน และมาลิก  ซึ่งดูเหมือนว่านักวิชาการเหล่านี้แยกประเด็นในกรณีของการละหมาดกับนอกละหมาด  และอัษเษารียฺ ถือว่าการปล่อยชายผ้ากรอมตาตุ่มในละหมาดเป็นสิ่งมักรูฮฺ  และส่วนหนึ่งจากผู้ที่มีความเห็นเดียวกันนี้คือ  อินบุ มัสอูด, มุญาฮิด, อะฏออฺ, อัน-นะเคาะอียฺ  ซึ่งอนุโลมในการปล่อยชายเสื้อ  แต่ถือว่ามักรูฮฺในการปล่อยชายผ้าท่อนล่าง (อิซฺารฺ)  และอิบนุ อัล-มุนซิร กล่าวว่า \"ฉันไม่รู้ว่าในการห้ามปล่อยชายผ้ากรอมนั้นมีหะดีษที่ถูกต้องรายงานมา  ฉนั้นจะไม่มีการห้ามโดยไม่มีหลักฐาน\"  


ส่วนหลักฐานที่อัศหาบุชชาฟิอียะฮฺนำมาอ้างสนับสนุนว่าถ้าปล่อยชายผู้กรอมถึงเท้าเพราะโอ้อวด (อัล-คุย่าลาอฺ)  เป็นที่หะรอม  แต่ถ้าไม่โอ้อวดก็มักรูฮฺนั้น  อาทิเช่น

لَايَنْظُرُالله ُيومَ القيامة إلى مَنْ جَرَّ إِزَارَهُ بَطَرًا
\"อัลลอฮฺจะไม่ทรงมองไปยังผู้ที่ลากผ้าท่อนล่างของตนเนื่องจากการอวดโตในวันกิยามะฮฺ\"
(รายงานโดย อัล-บุคอรียฺและมุสลิม)

مَاأَسْفَلُ مِنَ الْكَعْبَيْنِ مِنَ الْإِزَارِ فَفِي النَّارِ
\"ผ้าท่อนล่างที่เลยต่ำกว่า 2 ตาตุ่มย่อมอยู่ในนรก\"
(รายงานโดย อัล-บุคอรียฺ)

آزِرَةُالْمُسْلِمِ إِلَى نِصْفِ السَّاقِ وَلَاحرَج ، أَوْقَالَ : لاجُنَاحَ فِيْمَا بَيْنَهُ وبين الْكَعْبَيْنِ ، مَا كَانَ أسْفَل مِن الكَعْبَيْنِ فَهُوَ فِي النارِ ، مَن جَرَّ إزارَهُ بَطَرًا لم ينْظُرِ اللهُ إليْه
\"บรรดาผ้าท่อนล่างของมุสลิมนั้นถึงกลางหน้าแข้งและไม่มีบาปแต่อย่างใด หรือนบี (ศ้อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม‎)  กล่าวว่า : ไม่มีบาปแต่อย่างใดในระหว่างหน้าแข้งและระหว่างตาตุ่มทั้งสองสิ่งที่ปรากฏเลยต่ำกว่า 2 ตาตุ่มนั้นย่อมอยู่ในนรก  และผู้ใดลากผ้าท่อนล่างของตนเพื่ออวดโต อัลลอฮฺย่อมไม่มองยังผู้นั้น\"
(รายงานโดย อบูดาวูด ด้วยสายรายงานที่เศาะฮีหฺ) กิตาบ อัล-มัจญมูอฺ ชัรหุลมุฮัซซับ เล่มที่ 3 หน้า 182-183)
   

อิหม่าม อัน-นะวาวียฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า : การปล่อยชายผ้า, ผ้านุ่งและกางเกงยาวเลยตาตุ่มทั้ง 2 เพื่อแสดงความอวดโตนั้นเป็นที่ต้องห้าม  และมักรูฮฺหากไม่ได้เป็นไปเพื่อสิ่งดังกล่าว (กิตาบ อัล-มัจญมูอฺ เล่มที่ 4 หน้า 338) ส่วนกรณีของผู้หญิงนั้นอนุญาตให้ปล่อยชายผ้ากรอมลงพื้นได้ (อ้างแล้ว 4/339)


   ข้อ 2)  ที่มาของมัซฮับทั้ง 4 นั้นกล่าวสั้นๆ ก็คือมาจากการวิเคราะห์ตัวบททั้งจากกิตาบุลลอฮฺและสุนนะฮฺที่อาจจะมีมุมมองแตกต่างกันและอาศัยหลักเกณฑ์ทางนิติศาสตร์ที่แตกต่างกันในบางประเด็น  การขัดแย้งทางความคิดเห็นต่างเกิดขึ้นได้  แต่เรื่องความเห็นต่างในมัซฮับส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องประเด็นข้อปลีกย่อยที่มีการวิเคราะห์โดยกำลังสติปัญญา (อิจญติฮาด)  แต่จะเห็นพ้องกันโดยรวมในหลักมูลฐาน (อัล-อุศูล) เอาแค่นี้แล้วกันครับ!


والله أعلم بالصواب