การกล่าวอุซ้อลลี ก่อนละหมาดอนุญาติหรือเปล่า  (อ่าน 6283 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
salam

การกล่าวอุซ้อลลี ก่อนละหมาดอนุญาติหรือเปล่า

ถามโดย ref
« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2009, 03:20:39 PM »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : การกล่าวอุซ้อลลี ก่อนละหมาดอนุญาติหรือเปล่า
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2010, 10:18:36 am »
وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛

การตั้งเจตนา  (النية) พร้อมกับการเปล่งวาจา  (التلفظ)  นั้นต้องแยกประเด็นระหว่างการตั้งเจตนากับการเปล่งวาจา  เช่น  อุซอลลีย์  (ข้าพเจ้าละหมาด...)  กล่าวคือ  การตั้งเจตนาที่ถือเป็นเงื่อนไขสำคัญในการทำอิบาดะฮฺนั้น  คือการตั้งเจตนาด้วยหัวใจ  ตำแหน่งการตั้งเจตนาจึงอยู่ที่หัวใจคือการมีสติระลึกรู้ควบคู่กับการเริ่มกระทำสิ่งนั้น ๆ การตั้งเจตนา  (النية)  จึงเป็นเรื่องของหัวใจ  ส่วนเรื่องการเปล่งวาจา  เช่น  อุซอลลีย์,  นะวัยตุ้  เป็นเรื่องของลิ้น,  


นักวิชาการสังกัดมัซฮับอัชชาฟิอีย์  ระบุว่า  :  ไม่จำเป็นต้องเปล่งวาจาด้วยลิ้นพร้อมกับการตั้งเจตนา  และการเปล่งวาจาเพียงอย่างเดียวถือว่าใช้ไม่ได้  แต่ถ้ารวมทั้งสองอย่าง  (คือเจตนาด้วยใจและเปล่งวาจาด้วยลิ้น)  ก็เป็นสิ่งที่เน้นและดียิ่ง  (กิตาบอัลมัจญ์มูอฺ  ชัรฮุ้ลมุฮัซซับ  เล่มที่  1  หน้า  358)  


ฉะนั้นถ้าหากตั้งเจตนาด้วยหัวใจ  แต่ไม่ได้เปล่งวาจาด้วยลิ้น  ก็ถือว่าใช้ได้ตามมัซฮับแล้ว  และปวงปราชญ์ชี้ขาดเอาไว้ตามนั้น  เจ้าของหนังสืออัลฮาวีย์  :  ระบุว่า  :  มีคำกล่าวของอบูอับดิลลาฮฺ  อัซซุบัยรีย์ว่าจะใช้ไม่ได้จนกว่าผู้นั้นจะได้รวมระหว่างการตั้งเจตนาของหัวใจและการเปล่งวาจาของลิ้นเสียก่อน...  นักวิชาการสังกัดมัซฮับอัชชาฟิอีย์กล่าวว่า  :  ผู้ที่กล่าวเช่นนี้ผิดพลาด  เพราะการเปล่งวาจาในการละหมาดที่อิหม่ามอัชชาฟิอีย์  (ร.ฮ.)  มุ่งหมายถึงมิใช่อันนี้  หากแต่หมายถึงการกล่าวตักบีร่อตุ้ลอิฮฺรอม  


และถ้าหากผู้นั้นเปล่งวาจาด้วยลิ้นของตนโดยไม่มีเจตนาด้วยหัวใจ  การละหมาดของเขาย่อมใช้ไม่ได้โดยมติเห็นพ้อง  (กิตาบ  อัลมัจญ์มูอฺฯ  เล่มที่  3  หน้า  241)  สรุปได้ว่า  การกล่าวอุซอลลีย์ไม่ใช่สิ่งวาญิบ  แต่ถ้าว่าอุซอลลีย์พร้อมกับมีเจตนาด้วยหัวใจก็ย่อมไม่เสียหายแต่อย่างใด  เขาเรียกว่า  \"ลิ้นช่วยใจ\"  นั่นเอง


والله أعلم بالصواب