ตามปู่ย่า ตายาย  (อ่าน 3730 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตามปู่ย่า ตายาย
« เมื่อ: กันยายน 25, 2010, 01:10:27 pm »

 เรียน ถามครับ..ว่าการตามในเรื่องความเชื่อ คนในอดีดได้ไหม..
 หากในเรื่องดังกล่าวไม่พบในศาสนาเราว่ามีการห้ามกระทำ
เช่น เชื่อว่าทำอย่างนั้นอย่างนี้ ..ในวันนั้นวันนี้ไม่ดี
ถ้าเราเชื่อตามนั้นผิดหลักการไหมครับ มีฮู่ก่มว่าไง

ถามโดย - SON « เมื่อ: มกราคม 18, 2009, 01:21:18 am »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตามปู่ย่า ตายาย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 25, 2010, 01:11:01 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته

นักวิชาการ ระบุว่า : การตักลีด (ถือตาม, เอาอย่าง) ในด้านความเชื่อ (อิอฺติก็อดฺ) นั้นหมายถึง การยึดถือด้วยกับคำพูดของบุคคลที่มิใช่ มะอฺซูม (เช่น นบี, ร่อซู้ล) โดยไม่รู้ถึงหลักฐานยืนยันในเรื่องความเชื่อนั้น และผู้ถือตาม (มุก็อลลิดฺ) หมายถึง บุคคลที่เชื่อคำพูดของบุคคลที่มิใช่มะอฺซูมในเรื่องหลักความเชื่อว่าด้วย เอกานุภาพ (เตาฮีด) อันเป็นการเชื่อที่เด็ดขาดโดยที่ผู้ถือตามนั้นไม่รู้ถึงหลักฐาน (มุซักกิเราะฮฺ อัตเตาฮีด วัลฟิร็อก, ฮะซัน อัซซัยยิด มุต๊ะวัลลีย์ เล่มที่ 1/41)


ส่วนกรณีที่ว่าการถือตาม (ตักลีด) ในเรื่องความเชื่อ (อิอฺติก็อดฺ) นั้นพอเพียงหรือไม่? หรือเป็นที่อนุญาตหรือไม่? กรณีนี้นักวิชาการมีความเห็นต่างกันถึง 6 ทัศนะ ที่เป็นที่ยอมรับและถูกต้อง ถือว่าการถือตามในเรื่องความเชื่อโดยมีความเด็ดขาดในสิ่งที่ความเชื่อนั้น ถือว่าเพียงพอ แต่ถือว่าผู้นั้นมีโทษในกรณีที่ละทิ้งการพิจารณาถึงหลักฐานอันเป็นที่มาของ หลักความเชื่อนั้น  ทั้งๆที่มีความสามารถ (อ้างแล้ว 1/42-43 โดยสรุป)  สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการถือตามในเรื่องความเชื่ออัน เป็นหลักมูลฐานของศาสนา  ส่วนเรื่องความเชื่อทั่วไปที่เป็นความเชื่อของผู้คนในอดีตนั้น กรณีนี้ต้องพิจารณาในรายละเอียดเป็นเรื่องๆ ไป  ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

1. ความเชื่อที่เกิดจากการรวบรวมสถิติ (อิสติกฺรออฺ) หรือประสบการณ์ที่เกิดจากการทดลองและได้ข้อสรุปสำหรับผู้คนในอดีต  อาทิเช่น  การกินข้าวร้อนผสมกับข้าวเย็นเป็นผลเสียต่อระบบการย่อยอาหาร, การกินลำไยสำหรับคนที่มีอาการไข้จะมีผลเสียต่ออาการไข้ ทำให้เรื้อรัง และอักเสบ เป็นต้น  ความเชื่อเช่นนี้ไม่มีผลเสียแต่อย่างใดในกรณีถือตาม

2. ความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับหลักการของศาสนาทั้งในส่วนของอะกีดะฮฺและซะรีอะ ฮฺ  อาทิเช่น การห้ามตัดผมในวันพุธ  การห้ามจัดงานสมรสในเดือนมุฮัรรอม  เป็นต้น  กรณีนี้ต้องพิจารณาว่ามีหลักฐานระบุว่าอย่าง?  หรือค้านกับหลักฐานของศาสนาอย่างไร?  เช่น  ไม่มีหลักฐานระบุห้ามการตัดผมในวันพุธ และไม่มีหลักฐานห้ามจัดงานนิกาฮฺในเดือนมุฮัรรอม  ก็ต้องถือว่าเป็นสิ่งที่กระทำได้  เพราะไม่มีข้อห้าม  ส่วนผู้ใดมีความเชื่อว่าทำไม่ได้ทั้งๆ ที่ไม่มีหลักฐานที่ถูกต้องระบุห้ามเอาไว้  ก็ย่อมถือว่าเป็นความเชื่อที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง และจำเป็นที่ผู้นั้นต้องเปลี่ยนความเชื่อนั้นไปยังสิ่งที่ถูกต้อง  ความเชื่อที่ขาดหลักฐานสนับสนุนหรือค้านกับหลักการศาสนาเช่นนี้แหล่ะที่ไม่ อนุญาตให้ถือตาม

والله أعلم بالصواب