อภิปรายเชิงถาม-ตอบเกี่ยวกับเรื่องผู้นำ

بسم الله الرحمن الرحيم
الحمد لله رب العالمين والعاقبة للمتقين ولاعدوان إلاعلى الظالمين ، أشهد أن لاإله إلاالله وحده لاشريك له فتبارك الله أحسن الخالقين  ، وأشهدأن محمداعبده ورسوله أرسله الله رحمة للعالمين ، أللّهم صل وسلم وبارك على سيدنا محمدخاتم الأنبياء والمرسلين ، وعلى آله الطاهرين وصحابته أجمعين… أمابعد ؛

บทความนี้ข้าพเจ้าเขียนขึ้นเพื่อเป็นการตอบคำถามของท่านอาจารย์อิสหาก พงษ์มณี  นักวิชาการอาวุโสของกลุ่มอัสสะละฟียูน  ที่ท่านได้ตั้งประเด็นคำถามเอาไว้หลายประเด็นในข้อเขียน  เรื่องผู้นำ”  ของท่านโดยท่านอาจารย์เขียนว่า คำถามเหล่านี้  สำหรับคนที่อ้างหลักให้ตามผู้นำ  (ศาสนาในบ้านเราต้องตอบ  จะมีใครตอบข้อข้องใจเหล่านี้ของผมได้หรือไม่  ตอบแบบวิชาการเต็มรูปแบบ  ไม่เอาคำตอบแบบกะโหลกกะลา 

และท่านอาจารย์ยังได้เขียนในทำนองเชิญชวนอีกว่า 

ใครมีความเห็นและความเข้าใจมากกว่านี้ก็เรียนเชิญแสดงได้นะครับ  เรากำลังศึกษากันอยู่  ไม่จำกัดระดับความรู้ครับ  ท่านอาจารย์ย้ำอีกว่า “คำถามเหล่านี้ใครจะเป็นคนตอบ” 

 

เมื่อท่านอาจารย์เขียนเชิญชวนและย้ำมากกว่า  1  ครั้งว่าใครจะตอบและไขข้อข้องใจของท่านที่ตั้งประเด็นคำถามเอาไว้ในข้อเขียนของท่าน  ข้าพเจ้าจึงขอขันอาสาสนองตอบคำเชิญชวนของท่านในการแสดงความคิดเห็นและตอบข้อข้องใจสารพันของท่านด้วยการเตาฟีกและการเกื้อหนุนจากพระองค์อัลลอฮฺ  (สุบหานะฮูว่าตะอาลาโดยข้าพเจ้าจะพยามยามตอบแบบวิชาการให้เต็มรูปแบบอย่างสุดกำลังและจะพยายามเลี่ยงจากคำตอบแบบกะโหลกกะลาให้สุดกู่  อินชาอัลลอฮฺ

 

ข้าพเจ้าหวังว่าบทความนี้จะเป็นการเปิดประตูการศึกษาให้กว้างขึ้นและดีขึ้น  อย่างที่ท่านอาจารย์อิสหากตั้งปณิธานไว้ในข้อเขียนของท่าน  ทั้งนี้ข้าพเจ้าพอจะคาดการณ์ได้เมื่อบทความนี้ส่งถึงการรับรู้ของท่านอาจารย์ว่าท่านคงจะได้วิภาษตอบทางสื่อเกี่ยวกับเนื้อหาที่ปรากฏในบทความของข้าพเจ้า

 

หากเป็นดังการคาดการณ์นั้น  (ซึ่งข้าพเจ้าอาจจะคาดผิดก็ขอความกรุณาจากท่านอาจารย์และนักวิชาการของกลุ่มอัสสะละฟียูนได้เปิดโอกาสให้ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมในการวิภาษทางสื่อของกลุ่มด้วยเพื่อจะได้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่บรรดาผู้ใฝ่รู้ที่ติดตามรับฟังและรับชมสื่อของอัสสะละฟียูน เพราะบ้านของข้าพเจ้าไม่ได้อยู่ห่างจากที่ตั้งของกลุ่มอัสสะละฟียูนแต่อย่างใด  ขอเพียงบอกกล่าวด้วยวาจาเท่านั้น  ข้าพเจ้าก็จะรีบจรลีไปร่วมสนทนาด้วยในทันที  จึงขอฝากข้อเสนอนี้เอาไว้เพื่อท่านอาจารย์จะได้รับไว้พิจารณา 

 

แต่ในชั้นนี้ข้าพเจ้าขอร่วมแสดงความคิดเห็นในเชิงบทความตามที่ท่านอาจารย์ได้เชิญชวนไว้เป็นประเดิมเพื่อไม่ให้เสียน้ำใจที่อุตส่าห์เชิญชวนแล้วจะบอกปัดหรือทำแชเชือน  ก็ดูกะไรอยู่  เพราะข้าพเจ้าเป็นคนหนึ่งที่ถือหลักให้ตามผู้นำ (ศาสนาในบ้านเรา) นั่นเอง

ขอต่อเอกองค์อัลลอฮฺ  (สุบหานะฮูว่าตะอาลา)  ได้ทรงดลบันดาลให้บทความที่เขียนขึ้นนี้เป็นวิทยาทานและก่อเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้อ่านทุกท่านทั้งในโลกนี้และอาคิเราะฮฺสถาน  อามีน

والله ولي التو فيق والهداية 

อะลี  อะหฺหมัด  อบูบักร  มุฮัมมัด  อะมีน
อัลอัซฮะรียฺ  อัชชาฟิอียฺ  อัสสิยามียฺ
บ้านป่า  สวนหลวง
ค่ำคืนหนึ่งของซุลหิจญะฮฺ  .. 1435 / ตุลาคม  2557 

 

อ.อิสหาก  พงษ์มณี  เขียนว่า

มีการพูดถึงผู้นำกันมาก  โดยเฉพาะให้เชื่อฟังผู้นำในสิ่งที่ไม่ผิดหลักการ  ประเด็นนี้เห็นด้วยครับและต้องเอาด้วยเพราะมันคือหลักการ  แต่ประเด็นใครคือผู้นำนี้สิค่อนข้างมีปัญหา  เพราะนิยามผู้นำตามหลักการนั้นไม่ได้แยกระหว่างผู้นำศาสนากับผู้นำทางการเมือง  (ผู้ปกครองหากเราจะเอาแบบชาวโลกเขาก็อีกเรื่องหนึ่ง  เพราะชาวโลกเขามีผู้นำทางศาสนาต่างหาก  แยกไปจากผู้นำทางการเมือง  (ผู้ปกครองเช่น  โป๊บ  สังฆราช  และ  ฯลฯ  ตกลงมุสลิมเหมือนคริสต์  พุทธ  พราหมณ์  ด้วยหรือไม่  กรณีมีผู้นำทางศาสนาแยกออกจากผู้ปกครองสูงสุด

ข้อคิดเห็น

การพูดถึงเรื่องผู้นำกันมากเป็นเรื่องปกติของสังคมมนุษย์โดยเฉพาะมนุษย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมมุสลิม  ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺ  (ร.ฮ.)  กล่าวว่า  :  จำเป็นในการที่จะถูกรับรู้ว่าแท้จริงการเป็นผู้รับผิดชอบการกิจของผู้คนนั้นเป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาภารกิจทางศาสนาที่สำคัญยิ่ง  มิหนำซ้ำย่อมไม่มีการดำรงอยู่สำหรับศาสนานอกเสียจากด้วยการมีผู้ดำรงตำแหน่งรับผิดชอบการกิจของผู้คน  เพราะแท้จริงลูกหลานของอาดัม  (..)  นั้นสิทธิประโยชน์ของพวกเขาย่อมไม่มีความสมบูรณ์นอกเสียจากการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม เนื่องจากมีความต้องการซึ่งกันและกัน  และจำเป็นสำหรับพวกเขาในการอยู่ร่วมกันนั้นว่าจะต้องมีหัว (ผู้นำจำเป็นถึงขั้นที่ว่า  ท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)  เคยกล่าวว่า  :  เมื่อมีคน  3  คนออกเดินทางไกล  พวกเขาก็จงตั้งคนหนึ่งของพวกเขาให้เป็นผู้นำ  (อะมีรฺ)  –ความจากหะดีษของท่านอบูสะอีด  (..)  และอบูฮุรอยเราะฮฺ  รายงานโดยอบูดาวูด– 

(อัส-สิยาสิยะฮฺ  อัช-ชัรฺอียะฮฺ ; อิบนุตัยมียะฮฺ  หน้า  161)

 

สิ่งที่ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ (ร.ฮ.)  กล่าวข้างต้นเป็นข้อยืนยันได้อย่างชัดเจนว่ามนุษย์ผู้เป็นลูกหลานของท่านนบีอาดัม  (อ.ล.)  จะมีวิถีชีวิตที่รวมตัวกันเป็นสังคมมีการพึ่งพาอาศัยระหว่างกันและมีสิทธิประโยชน์ทั้งในส่วนบุคคลและส่วนรวม โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ส่วนรวม  (อัล-มัศละหะฮฺอัลอามมะฮฺ)  จะเป็นไปโดยสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อผู้คนในสังคมนั้นรวมตัวกัน  (อัล-อิจญ์ติมาอฺ)  และเมื่อรวมตัวกันในการกิจหนึ่งก็จำต้องมีบุคคลที่รับหน้าที่ในการบริหารจัดการกลุ่มบุคคลนั้นซึ่งเรียกว่า  ผู้นำ  เพื่อรักษาไว้ซึ่งสิทธิประโยชน์ของส่วนรวม ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการกิจทางโลกหรือทางศาสนาก็ตาม 

 

ครอบครัวซึ่งเป็นสังคมที่เล็กที่สุดที่กลุ่มบุคคลรวมตัวกันบนสายสัมพันธ์ของการแต่งงาน  การสืบเชื้อสายโลหิตและความเป็นเครือญาติก็จำต้องมีผู้นำที่รับผิดชอบการกิจของครอบครัว  ชุมชนที่เป็นการรวมตัวกันของครอบครัวที่มีจำนวนคนในหลายครอบครัวมารวมตัวกันเป็นชุมชนก็จำต้องมีผู้นำชุมชนหรือกลุ่มคณะบุคคลเข้ามารับผิดชอบการกิจของชุมชนและบริหารจัดการสิทธิประโยชน์ของสมาชิกในชุมชนให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นปกติสุข  เมื่อในชุมชนหรือตำบลหนึ่งมีมัสญิดเป็นศูนย์กลาง  และผู้คนในชุมชนหรือตำบลนั้นเป็นสัปปุรุษของมัสญิดนั้น  องค์กรมัสญิดก็จำต้องมีผู้นำที่ทำหน้าที่รับผิดชอบการกิจขององค์กรมัสญิดและปวงสัปปุรุษซึ่งเรียกว่า  อิมามประจำมัสญิดนั้นๆ

 

แม้เพียงกรณีของการเดินทางไกลที่มีคนร่วมเดินทางไปด้วย  3  คนขึ้นไป  ท่านรสูล  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)  ยังได้มีคำสั่งให้กลุ่มบุคคลที่ร่วมกันในการเดินทางตั้งคนหนึ่งขึ้นมาเป็นผู้นำ  ซึ่งเรียกว่า  “อะมีร”  สำหาอะไรกับประชาคมมุสลิมในประเทศไทยที่มีจำนวนหลายล้านคน 

 

คำถามก็คือ  หากคนที่ออกเดินทางไกลมีจำนวน  3  คนขึ้นไปจะต้องมีผู้นำตามที่ท่านรสูล  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)  ได้สั่งเอาไว้  แล้วประชาคมมุสลิมจำนวนหลายล้านคนเล่า  จำต้องมีผู้นำสำหรับพวกเขาหรือไม่?

 

หากตอบว่า  ไม่!  คือประชาคมมุสลิมจำนวนนับล้านคนในประเทศไทยไม่จำเป็นต้องมีผู้นำ  ทว่าการมีผู้นำเป็นเรื่องที่อนุญาต  จะมีก็ได้  ไม่มีก็ได้  หากประชาคมนั้นสามารถระงับยับยั้งในระหว่างกันจากการละเมิด  มีการดำรงความเป็นธรรม  ช่วยเหลือซึ่งกันและกันบนพื้นฐานของความดีและการตักวา  โดยแต่ละคนในประชาคมนั้นทำหน้าที่ของตนก็ถือว่าประชาคมนั้นไม่ต้องมีผู้นำและปฏิบัติตามผู้นำนั้นแต่อย่างใด หากมีทัศนะตามที่ว่านี้ก็จงทราบเถิดว่านี่เป็นทัศนะของ กลุ่ม “อัลมุหักกิมะฮฺ” รุ่นแรก  และกลุ่ม “อันนัจญ์ดาต” จากพวก “อัลเคาะวาริจญ์” ตลอดจนเป็นทัศนะนักวิชาการที่เป็นพวกอัล-มุอฺตะซิละฮฺ กล่าวคือไม่ใช่แนวทางของอะฮฺลิสสุนนะฮฺวัลญะมอะฮฺนั่นเอง 

(อัล-ฟิกฮุลอิสลามียฺ  ว่า  อะดิลละตุฮู  ;  ดร.วะฮฺบะฮฺ  อัซ-ซุหัยลียฺ  เล่มที่ 6 หน้า  668)

 

แต่ถ้าตอบว่า  จำเป็น!  คือประชาคมมุสลิมจำนวนนับล้านคนนั้นจำเป็นต้องมีผู้นำ  เพราะนี่คือทัศนะของนักปราชญ์ส่วนมากในศาสนาอิสลาม  แม้แต่กลุ่มอัล-เคาะวาริจญ์ที่ยกเว้นพวกอัล-มุหักกิมะฮฺและอัน-นัจญ์ดาต  ตลอดจนกลุ่มอัลมุอฺตะซิละฮฺยกเว้นนักวิชาการบางส่วนในกลุ่มนี้ก็เห็นพ้องตรงกับฝ่ายอะฮฺลิสสุนนะฮฺ  วัล-ญะมาอะฮฺว่าการมีผู้นำเป็นเรื่องจำเป็น  (อ้างแล้ว 6/663)  โดยถือเป็นฟัรฎูกิฟายะฮฺ  (อัล-อะหฺกาม  อัส-สุลฏอนียะฮฺ  ;  อัล-มาวัรฺดียฺ  หน้า  3)

 

หากจะค้านว่า  ผู้นำที่จำเป็นต้องมีสำหรับประชาคมมุสลิมนั้นหมายถึง  ผู้นำที่มีสถานภาพเป็นเคาะลีฟะฮฺหรืออิมามสูงสุด  (อิมามอะอฺซ็อม)  แต่ผู้นำของประชาคมมุสลิมในประเทศไทยไม่ใช่เคาะลีฟะฮฺหรืออิมามอะอฺซ็อมหรือไม่ใช่  “หากิม”

ดังข้อเขียนของอาจารย์ที่ระบุว่า  :

“…  เพราะคำว่า  “ฮาเก่ม”  คือผู้มีอำนาจ  ถามว่าจุฬามีอำนาจไหม  เมื่อออกคำสั่งแล้ว  หากมีคนฝืนจุฬาทำอะไรได้บ้าง  หลักการไม่ใช่ปัญหา  ปัญหาคือการใช้คำว่า  “ฮาเก่ม”  กับตำแหน่งจุฬาต่างหาก  หลักที่ว่า  “เมื่อผู้ปกครองตัดสินแล้ว  ข้อขัดแย้งก็ยุติ”  หากเป็นผู้ปกครองโดยแท้จริง  มันยุติแน่  แต่ปัญหาคือ  “จุฬา”  คือผู้ปกครองใช่หรือไม่  ต้องถามต่อว่าปกครองอะไร  ถ้าเอาตามกฎหมายบ้านเรา  จุฬาไม่มีอำนาจลงโทษหรือเอาโทษกับคนที่ไม่เห็นด้วย  ฉะนั้นการอ้างอิงหลักการกับการนำมาใช้ในสถานที่เป็นจริงมันต่างกัน  พึงระวังด้วย

ข้อคิดเห็น

หากท่านอาจารย์ยอมรับประเด็นแรกที่ว่าประชาคมมุสลิมาจำต้องมีผู้นำ  ก็ย่อมวิเคราะห์กันต่อไปเกี่ยวกับสถานภาพและคุณลักษณะของผู้นำได้  แต่ถ้าท่านไม่ยอมรับในประเด็นแรก  ก็ย่อมเป็นเรื่องยากที่จะวิเคราะห์ต่อ  อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าเข้าใจว่า  ท่านอาจารย์ยอมรับประเด็นแรกอยู่ในที  เพราะท่านเขียนว่า  :  มีการพูดถึงผู้นำกันมาก  โดยเฉพาะให้เชื่อฟังผู้นำในสิ่งที่ไม่ผิดหลักการ  ประเด็นนี้เห็นด้วยครับ  และต้องเอาด้วยเพราะมันคือหลักการ  แต่ประเด็นใครคือผู้นำนี่สิค่อนข้างมีปัญหา…”

 

เมื่ออาจารย์ยอมรับว่า  การเชื่อฟังผู้นำในสิ่งที่ไม่ผิดหลักการคือหลักการ  ดังนั้นท่านอาจารย์จะปฏิบัติตามหลักการข้อนี้ได้อย่างไร?  ในเมื่อท่านถามว่าใครคือผู้นำ?  และท่านถือว่าปัญหาอยู่ที่ประเด็นใครคือผู้นำ?  คล้ายกับว่าไม่มีผู้นำ  เมื่อไม่มีผู้นำแล้วจะเชื่อฟังใคร?  ในสำนวนของอัล-หะดีษระบุว่า  :  إنما الطاعة في المعروف إذ لا طاعة لمخلوق في معصية الخالق  อันที่จริงการภักดีเชื่อฟังนั้นอยู่ในเรื่องที่ดี  กล่าวคือ  ย่อมไม่มีการภักดีเชื่อฟังสำหรับสิ่งถูกสร้างในเรื่องที่ฝ่าฝืนต่อพระผู้ทรงสร้าง

 

อัล-หะดีษพูดถึงเรื่องการเชื่อฟังและภักดี  ( الطاعة )  ในเรื่องดี  ( المعروف )  คือไม่ผิดหลักการของศาสนา  นี่คือหลักการที่อาจารย์ยอมรับ  เห็นด้วย  และบอกว่าต้องเอาด้วย  แต่หลักการที่ว่าต้องเอาด้วยนี้  ท่านอาจารย์จะนำมาปฏิบัติจริงๆอย่างไร?  บุคคลที่มีบิดามารดาซึ่งเป็นผู้ตั้งภาคีและทั้งสองก็เพียรพยายามให้บุคคลที่เป็นบุตรนั้นทำการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ  (สุบหานะฮูวะตะอาลา)  พระองค์ดำรัสกับบุคคลผู้นั้นว่า فَلَا  تُطِعْهُمَا…الآية  เจ้าก็จงอย่าเชื่อฟังบุคคลทั้งสอง….”  (อัล-อังกะบูต : 8) (ลุกมาน : 15)

 

นั่นแสดงว่า  ถ้าบิดามารดาของผู้นั้นเป็นผู้ศรัทธาและสั่งใช้ผู้นั้นให้ปฏิบัติสิ่งที่เป็นความดีตามหลักการของศาสนา  ก็จำเป็นที่ผู้นั้นจำต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามใช่หรือไม่?  ถ้าตอบว่า  ใช่!  เพราะเป็นหลักการ  ก็ถามต่อไปว่า  บิดามารดาเป็นผู้นำของบุตรธิดาใช่หรือไม่?  และนี่เป็นเรื่องของหลักการที่ว่าด้วยการเชื่อฟังใช่หรือไม่?  ถ้าตอบว่า  ใช่!  ก็แสดงว่า  หลักการที่เรากำลังพูดถึงคือเรื่องของการเชื่อฟังและปฏิบัติตาม  ( الطاعة )  ส่วนบิดามารดาจะใช่ผู้นำที่เราจำต้องเชื่อฟังหรือไม่ค่อยว่ากันอีกที

 

เมื่อเรากล่าวถึงสิทธิของสามีอันเป็นหน้าที่ของภรรยาที่จำต้องปฏิบัติต่อสามี  เราก็จะพบว่าส่วนหนึ่งจากสิ่งดังกล่าวคือ  ( طاعته في غير معصية الله تعالى )  “การเชื่อฟังสามีในเรื่องที่มิใช่การฝ่าฝืนต่อพระองค์อัลลอฮฺตะอาลา”  เพราะพระองค์ดำรัสว่า  :

فَإِنْ أَطَعْنَكُمْ فَلَا تَبْغُوا عَلَيْهِنَّ سَبِيلًا…  

หากพวกนางเชื่อฟังพวกท่านแล้วละก็  พวกท่านก็อย่าแสวงหาหนทางใดๆ ที่เป็นการประทุษร้ายต่อพวกนาง”  (อันนิสาอฺ  :  34)  

(ดูมินฮาญุลมุสลิม  ;  อบูบักร์  ญาบิรฺ  อัล-ญะซาอิรียฺ  หน้า  79)

 

ถามว่า  :  เมื่อสามีใช้ให้ภรรยาของตนกระทำสิ่งที่ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อหลักการของศาสนา  ก็จำเป็นที่ภรรยาต้องเชื่อฟังสามีของนางใช่หรือไม่?  ถ้าตอบว่า  ใช่!  เพราะนี่เป็นหลักการที่ว่าด้วยเรื่องการเชื่อฟัง  ( الطاعة )  ก็ถามต่อไปว่า  สามีเป็นผู้นำของภรรยาใช่หรือไม่?  ใช่หรือไม่ใช่ค่อยว่ากันอีกที  แต่ที่แน่ๆ ภรรยาต้องเชื่อฟังผู้เป็นสามีในเรื่องที่ถูกต้องตามหลักการของศาสนา  เพราะนี่คือหลักการ!

 

เมื่อเรากล่าวถึงมารยาทที่ว่าด้วยการเดินทาง  (อาด็าบ  อัส-สะฟัรฺ)  ก็จะพบว่ามีอัล-หะดีษบทหนึ่งที่รายงานจากท่านอบูสะอีด  (ร.ฎ.)  และอบูฮุรอยเราะฮฺ  (ร.ฎ.)  ทั้งสองกล่าวว่า  : ท่านรสูลุลลอฮฺ  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)  กล่าวว่า  :   إِذَا خَرَجَ ثَلَاثَةٌ فِيْ سَفَرٍ فَلْيُؤَمِّرُوْا أَحَدَهُم  เมื่อมีคน  3  คนออกไปในการเดินทางไกล  พวกเขาก็จงให้คนหนึ่งของพวกเขาเป็นผู้นำ  (อะมีรฺของพวกเขา”  (บันทึกโดยอบูดาวูด  หะดีษเลขที่  2608  ด้วยสายรายงานที่หะสัน)

 

อัล-หะดีษบทนี้นักวิชาการได้สรุปสาระสำคัญว่า  :  “ส่งเสริมสำหรับกลุ่มคณะ  (อัล-ญะมาอะฮฺ)  ผู้เดินทางให้พวกเขากำหนดคนๆหนึ่งจากพวกเขาให้เป็นผู้นำเหนือพวกเขา  โดยที่พวกเขาจะเชื่อฟังผู้นำนั้นในเรื่องราวของการเดินทาง…  อัล-มาวัรฺดียฺ  กล่าวไว้ในตำรา  อัล-หาวียฺ  ว่า  :  และคำสั่งนี้เป็นเรื่องในเชิงจำเป็น  (วุญูบ)”  (นุซฺฮะตุลมุตตะกีน  ชัรฺหุ  ริยาฎิศศอลิหิน  หน้า  382)

 

นั่นหมายความว่า  เมื่อบุคคลได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำคณะของผู้เดินทางก็ให้ผู้ร่วมเดินทางเชื่อฟังคำสั่งของผู้นำคณะโดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการเดินทาง  เมื่อผู้นำคณะมีคำสั่งที่ไม่ขัดต่อหลักการของศาสนา  ผู้ร่วมเดินทางก็ต้องปฏิบัติตามและเชื่อฟัง  นี่คือหลักการใช่หรือไม่?  หากตอบว่า  ใช่!  ก็ถามต่อไปว่านี่เป็นเรื่องของการเชื่อฟัง  ( الطاعة )  ใช่หรือไม่?  หากตอบว่า  ใช่!  ก็แสดงว่า   สาระสำคัญอยู่ที่หลักการว่าด้วยการเชื่อฟัง  ส่วนตัวบุคคลที่ตั้งคำถามว่า  ใครคือบุคคลที่จะต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามในกรณีที่ไม่ขัดต่อหลักการของศาสนานั้น  เป็นเรื่องรอง  ขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นเป็นใคร?  เป็นบิดามารดา  หรือเป็นสามี  หรือเป็นครูผู้สั่งสอนศิษย์  หรือเป็นผู้นำคณะในการออกเดินทางไกล  ฯลฯ

 

เหตุนี้เวลานักวิชาการอธิบายถึงหลักการว่าด้วยการปฏิบัติตามเชื่อฟัง  (อัฏฏออะฮฺก็จะใช้หลักการที่ว่านี้โดยครอบคลุมตามนัยกว้างๆ (อัดดะลาละฮฺ  อัลอามมะฮฺสำหรับบุคคลที่มีสถานภาพแตกต่างกันไปไม่ใช่เฉพาะ  “ผู้นำ”  เท่านั้น  เพราะหลักการข้อนี้เป็นการกล่าวถึงการเชื่อฟังสิ่งที่ถูกสร้าง  ( المخلوقว่าจะต้องไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อพระผู้ทรงสร้าง  ( الخالق ) 

 

ซึ่งปรากฏอยู่ในสำนวนของอัลหะดีษที่ว่า

إذ لا طاعة لمخلوقٍ في معصية الخالق  กล่าวคือ  ย่อมไม่มีการเชื่อฟังสำหรับสิ่งถูกสร้างในเรื่องที่ฝ่าฝืนต่อพระผู้ทรงสร้าง”  

หรือในอีกสำนวนหนึ่งที่ว่า  :  لَا طَاعَةَ في معصيةِ اللهِ ، إنما الطاعةُ في المعروفِ  ไม่มีการภักดีเชื่อฟังในการฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ  อันที่จริงการเชื่อฟังนั้นในเรื่องที่ดีเท่านั้น”  

(เศาะหิหฺ  มุสลิม  กิตาบ  อัล-อิมาเราะฮฺ  4/504,  อัน-นะสาอียฺ  กิตาบ  อัล-บัยอะฮฺ  7/142)

 

การเชื่อฟังภักดีต่ออัลลอฮฺและรสูล  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)  เป็นการเชื่อฟังแบบไร้เงื่อนไข  ( إطاعة مطلقة )  เพราะถึงแม้ท่านรสูล  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)  จะเป็นสิ่งถูกสร้าง  (มัคลู็ก)  แต่ท่านคือศาสนทูตของอัลลอฮฺ  เป็นผู้ไร้มลทิน  (มะอฺศูม)  ท่านจะไม่ใช้ในสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืนต่อบัญญัติของอัลลอฮฺโดยเด็ดขาด  เมื่อเป็นเช่นนั้น  ก็จำต้องเชื่อฟังคำสั่งของท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) โดยสิ้นเชิงแบบไร้เงื่อนไข

 

ส่วนบุคคลอื่นๆ ที่ไม่มีสถานภาพอย่างท่านรสูล  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)  ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นบิดามารดา  ครูบาอาจารย์  สามีหรือผู้นำก็ตาม  การเชื่อฟังบุคคลเหล่านี้เป็นการเชื่อฟังแบบมีเงื่อนไข  ( إطاعة مقيدة )  กล่าวคือ  การเชื่อฟังถูกผูกพันเอาไว้ในเฉพาะเรื่องที่ดี  ( المعروف )  เท่านั้น  ส่วนสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺและรสูลของพระองค์ก็ห้ามในการเชื่อฟัง  นี่คือหลักการของอะฮฺลิสสุนนะฮฺ  วัล-ญะมาอะฮฺที่ว่าด้วยเรื่องการภักดีเชื่อฟังและการปฏิบัติตามซึ่งเป็นเรื่องกว้างๆและมีนัยครอบคลุม  มิใช่เฉพาะเรื่องของผู้นำที่ถามหาว่าเป็นใคร?  เพียงเรื่องเดียว!

 

ดังนั้นเมื่อท่านอาจารย์ยอมรับและเห็นด้วยในหลักการข้างต้น  ก็พิจารณากันต่อไปว่า  ผู้ใดที่เราจะต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตาม?  คำตอบก็คือ  ผู้นำ!  และอีกหลายคนที่ยกตัวอย่างมา  แต่ปัญหาข้องใจของท่านอาจารย์ก็คือ  ใครคือผู้นำ?  ก็ขอให้เราได้ลองพิจารณาข้อเขียนของเหล่านักวิชาการดูเสียก่อนว่าพวกเขาเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไร?

 

*อัล-ลามะฮฺ  อิบนุ  อบีลอิซฺ  อัล-หะนะฟียฺ  (ร.ฮ.)  เขียนว่า  :

ِوَقَدْ دَلَّتْ نصوصُ الكتاب والسنةِ وإجْمَاعِ سَلَفِ الأمةِ أنّ وَلِيَّ الْأمْرِ ، وَإِمَامَ الصَّلَاةِ ، وَالْحَاكِمَ ، وأَمِيْرَ الْحَرْبِ ، وعَامِلَ الصدقة : يُطَاعُ في مَوَاضِع َالاجتهادِ ، ولَيْسَ عليه أنْ يُطيعَ أَتْبَاعَهُ في موارد الاجتهادِ ، بل عليهم طاعتُه في ذلكَ ، وتركُ رَأْيِهِمْ لِرَأْيِهِ ، فإنَّ مَصْلَحَةَ الجماعةِ والائتِلاَف ، وَمَفْسَدَة الفُرْقَةِ والاختِلاَف أَعْظَمُ مِنْ أمْرِ المسائِلَ الجزئية

 

แน่แท้  บรรดาตัวบทของคัมภีร์อัลกุรอานและสุนนะฮฺตลอดจนอิจญ์มาอฺของชนรุ่นสะลัฟของประชาคมได้บ่งชี้ว่า  แท้จริงผู้รับผิดชอบการกิจอิมามนำละหมาดอัลหากิม  (ผู้ปกครอง?)  แม่ทัพ  (ผู้นำการศึกและเจ้าหน้าที่เก็บรวบรวมซะกาต  (เศาะดะเกาะฮฺ  วาญิบะฮฺจะถูกเชื่อฟังในบรรดาตำแหน่งของการอิจญ์ติฮาด  และหาใช่เป็นหน้าที่เหนือผู้นำในการที่เขาจะเชื่อฟังบรรดาผู้ตามของเขาในบรรดาแหล่งที่มาของการอิจญ์ติฮาด  ทว่าจำเป็นเหนือพวกเขา  (บรรดาผู้ตามในการเชื่อฟังผู้นั้นในเรื่องดังกล่าว  และ  (จำเป็นต้องละทิ้งทัศนะความเห็นของพวกเขาเพื่อ  (ปฏิบัติตามทัศนะความเห็นของผู้นั้น  เพราะแท้จริงสิทธิประโยชน์ของกลุ่มชนและความสมานฉันท์  ตลอดจนเหตุแห่งความเสียหายของการแตกแยกและขัดแย้งกัน  เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งกว่าเรื่องของบรรดาปัญหาข้อปลีกย่อย” 

(ชัรฺหุ  อัลอะกีดะฮฺ  อัฏเฏาะหาวียะฮฺ  ; อัลลามะฮฺ  อิบนุ  อบิลอิซฺ  อัลหะนะฟียฺ  ;  อัลมักตับ  อัลอิสลามียฺ  พิมพ์ครั้งที่  9  (..1988)  เบรุต  หน้า  376)

 

ข้อเขียนของอัล-ลามะฮฺ  อิบนุ  อบิลอิซฺ  (ร.ฮ.)  นับรวมเอาบุคคลในหลายสถานภาพ  เช่น  วะลียุลอัมร์และอัล-หากิม  เข้าไว้ในกลุ่มบุคคลที่จำต้องได้รับการเชื่อฟังในเรื่องที่มีการอิจญ์ติฮาดได้  แต่มีข้อสังเกตว่า  มีบุคคลอย่างน้อย  2  คนคือ  อิมามนำละหมาดและเจ้าหน้าที่เก็บซะกาต  ซึ่งบุคคลทั้งสองนี้ไม่มีอำนาจในการปกครอง  การตัดสินและลงโทษต่างจาก  2 บุคคลแรกและแม่ทัพ  กระนั้นบุคคล  2  คนที่เป็นเพียงอิมามนำละหมาดและเจ้าหน้าที่เก็บซะกาตก็เป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่จำต้องได้รับการเชื่อฟังและปฏิบัติตามเมื่อมีการอิจญ์ติฮาดและมีทัศนะอย่างหนึ่งอย่างใดในเรื่องที่ตนรับผิดชอบคือเรื่องการละหมาดและการจัดเก็บซะกาต

 

เหตุที่ยกข้อเขียนนี้มากล่าวก็เพื่อตอบข้อข้องใจของท่านอาจารย์ที่ตั้งคำถามเอาไว้เสียหลายประเด็นในเรื่องที่ว่า  ใครคือผู้นำที่เราจะต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตาม  ดังปรากฏในข้อเขียนที่ว่า  :

แต่ประเด็นใครคือผู้นำนี้สิค่อนข้างมีปัญหา  เพราะนิยามผู้นำตามหลักการนั้น  ไม่ได้แยกระหว่างผู้นำศาสนากับผู้นำทางการเมือง  (ผู้ปกครอง)”

“…นี่แหละ  คือปัญหาเพราะคำว่า  “ฮาเก่ม”  คือผู้มีอำนาจ  ถามว่าจุฬามีอำนาจไหม  เมื่อออกคำสั่งแล้วหากมีคนฝืน  จุฬาทำอะไรได้บ้าง….”  

“…ต้องถามต่อว่าผู้ปกครองอะไร  ถ้าเอาตามกฎหมายบ้านเรา  จุฬาไม่มีอำนาจลงโทษหรือเอาโทษกับคนที่ไม่เห็นด้วย…”

“ 5- ไม่สามารถออกคำสั่งข้อบังคับ  ระเบียบใดหากขัดต่อตัวบทกฎหมาย  อีกทั้งไม่สามารถยกเลิกกฎหมายใดได้โดยลำพัง  แม้อาจจะผิดหลักการศาสนา

 6- สรุปว่าหากจะกล่าวว่า  “จุฬา”  คือผู้นำก็คงเป็นเพียงผู้นำย่อยตามกรอบของกฎหมายเท่านั้น

 

ข้อเขียนของอาจารย์เน้นสาระสำคัญอยู่ที่การใช้อำนาจในการลงโทษของจุฬาราชมนตรี  การเป็นเพียงผู้นำทางศาสนาซึ่งตามนิยามของผู้นำไม่ได้แยกระหว่างผู้นำศาสนากับผู้นำทางการเมือง  (ผู้ปกครอง)  สรุปคือเป็นเพียงผู้นำย่อยตามกรอบของกฎหมาย

 

ก็ขอถามว่า  แล้วอิมามนำละหมาดกับเจ้าหน้าที่จัดเก็บซะกาตเล่า  ทำไมอัลลามะฮฺ  (..)  จึงระบุว่า  บุคคลทั้งสองถูกจัดอยู่ในกลุ่มของผู้ที่จะต้องได้รับการเชื่อฟังและปฏิบัติตาม  ทั้งที่อิมามนำละหมาด  (ชัดเจนว่าไม่ใช่อิมามสูงสุดหรือผู้ดำรงตำแหน่งอิมามะฮฺอุซฺมาและเจ้าหน้าที่จัดเก็บซะกาตไม่มีอำนาจในการลงโทษ  และบุคคลทั้งสองก็มิใช่ผู้นำทางการเมืองมิใช่  “หากิม”  ออกคำสั่ง  ข้อบังคับ  ระเบียบหรือยกเลิกกฎหมายโดยลำพังก็ทำไม่ได้  แต่ทำไมจำเป็นที่จะต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามการวินิจฉัยของบุคคลทั้งสองด้วยเล่าประเด็นนี้ท่านอาจารย์จะต้องหักล้างข้อเขียนของอัลลามะฮฺ  อิบนุ  อบิลอิซฺ  (..)  เสียก่อนว่าเป็นข้อเขียนที่ไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนจากการนิยามที่ท่านอาจารย์กำหนดขึ้นเองโดยไม่อ้างที่มาของนิยามนั้นจากตำราเล่มใดเลย  

 

โปรดสังเกตเนื้อหาของข้อเขียนที่อัล-ลามะฮฺ  (ร.ฮ.)  ทิ้งท้ายเอาไว้เป็นเหตุผลว่าทำไมจึงจำเป็นต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามกรณีการอิจญ์ติฮาดของกลุ่มบุคคลดังกล่าว  ท่านเขียนว่า  นั่นเป็นเพราะว่าแท้จริงสิทธิประโยชน์ของกลุ่มชนและความสมานฉันท์  ตลอดจนเหตุแห่งความเสียหายของการแตกแยกและการขัดแย้ง  เป็นสิ่งที่สำคัญกว่าเรื่องของบรรดาข้อปัญหาปลีกย่อย”  ก็ถามว่า  อะไรคือสิทธิประโยชน์  (มัศละหะฮฺ)  ของกลุ่มชนที่เรียกว่า  ประชาคมมุสลิมในประเทศไทยที่มีจำนวนหลายล้านคน?  สิทธิประโยชน์ที่ว่านั้นจะดำรงรักษาไว้ได้หรือไม่ในเมื่อประชาคมมุสลิมจำนวนนับล้านคนนั้น  “ไม่มีผู้นำ”

 

และในเมื่อทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่โดยเฉพาะอะฮฺลุสสุนนะฮฺ  วัล-ญะมาอะฮฺเห็นตรงกันว่า  การมีผู้นำ  (อิมามะฮฺ)  เป็นฟัรฎูกิฟายะฮฺ  หากประชาคมมุสลิมไม่มีผู้นำก็แสดงว่าพวกเขาต้องมีโทษหรือบาปด้วยกันทุกคน  ซึ่งแน่นอนประชาคมมุสลิมส่วนใหญ่ในประเทศไทยย่อมพ้นฟัรฎูกิฟายะฮฺไปแล้ว  เมื่อพวกเขาถือว่า  จุฬาราชมนตรีคือผู้นำของพวกเขา

 

ถึงแม้ว่าท่านอาจารย์จะมีความเห็นและข้อสรุปว่า  “จุฬาราชมนตรี”  ไม่ใช่ผู้นำตามนิยามและหลักเกณฑ์ที่อาจารย์ได้กำหนดเอาไว้ก็ตาม  คำถามจึงมุ่งเป้าไปยังท่านอาจารย์เองว่า  ใครคือผู้นำของท่าน?  เพราะข้าพเจ้าและประชาคมมุสลิมโดยส่วนใหญ่  เชื่อและยึดว่า  จุฬาราชมนตรีคือผู้นำสูงสุดของเรา  และเราก็ไม่ถือว่าข้อเขียนของท่านอาจารย์จะมีน้ำหนักเพียงพอในการปฏิเสธความเป็นผู้นำของท่านจุฬาราชมนตรี  เหตุนี้ข้าพเจ้าจึงเขียนบทความนี้เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเขียนของท่านว่าเรามีคำตอบหรือไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้

 

ในชั้นนี้  เราจะเห็นได้ว่า  สถานภาพของบุคคลที่ศาสนากำหนดให้เชื่อฟังปฎิบัติตาม  เช่น  บิดา-มารดา,  ครูบาอาจารย์,  อิมามนำละหมาด  และสามี  เป็นนัยสำคัญมากกว่าที่จะพิจารณาเรื่องอำนาจว่ามีหรือไมมี  การฏออะฮฺเชื่อฟังกลุ่มบุคคลดังกล่าวในสิ่งที่ไม่ขัดต่อหลักการของศาสนา  มีสาระสำคัญอยู่ที่สถานภาพ  สิทธิ  และหน้าที่ของตัวบุคคล  ไม่ใช่อยู่ที่อำนาจเพียงประการเดียว

 

และอำนาจที่ว่านี้ก็ไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องเป็นเรื่องของการลงโทษหรือการออกกฎหมายหรือยกเลิกกฎหมาย  แต่อยู่ที่สถานภาพของบุคคลมากกว่า  เช่น  หากผู้นั้นเป็นบิดามารดา  เราผู้เป็นบุตรธิดาก็จำต้องเชื่อฟัง  การที่ลงโทษการฝ่าฝืนของบุตรธิดาโดยบุพการีนั้นก็ทำได้เพียงการเฆี่ยนเพื่อสั่งสอนแต่ก็ไม่ใช่การเฆี่ยนอย่างกรณีระวางโทษของคดีอาญาที่ศาสนากำหนดไว้  อิมามนำละหมาดก็เป็นบุคคลที่เหล่ามะอฺมูมหรือสัปปุรุษต้องเชื่อฟัง  ทั้งๆ ที่อิมามก็ไม่มีอำนาจในการลงโทษผู้ฝ่าฝืนหรือจะมีก็เหมือนไม่มีนั่นเอง  สามีก็เป็นบุคคลที่ภรรยาจำต้องเชื่อฟัง  หากดื้อแพ่งการทำได้ตามลำดับคือตักเตือนสั่งสอนด้วยวาจา  หากไม่เชื่อก็แยกที่นอน  หากไม่เชื่ออีกก็ตีได้เท่าที่จำเป็นตามที่อัล-กุรอานระบุไว้เท่านั้น  ถึงอย่างนั้นการฏออะฮฺเชื่อฟังกลุ่มบุคคลดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่ศาสนาบัญญัติเอาไว้  กรณีของผู้นำก็เช่นกัน  เมื่อคนส่วนใหญ่ให้การยอมรับว่าบุคคลผู้นั้นคือผู้นำของพวกเขา  เรื่องการฏออะฮฺเชื่อฟังก็เป็นสิ่งที่ศาสนาบัญญัติเอาไว้เช่นกัน 

 

อาจารย์อาจจะค้านว่า  กรณีของบิดา-มารดา  สามี  ครูบาอาจารย์  และอิมามนำละหมาด  (โต๊ะอิมาม)  นั้น  ที่เราจำเป็นต้องเชื่อฟังก็เป็นเพราะว่า  เรารู้ว่าใครคือบิดามารดา  ใครคือครูบาอาจารย์  และใครคือโต๊ะอิมามที่มัสญิดของเรา  แต่เราไม่รู้ว่า  ใครคือผู้นำ!  หรือคนที่เราอ้างว่าเป็นผู้นำจริงๆแล้วไม่ใช่ผู้นำ  เพราะผู้นำที่เราต้องเชื่อฟังจะต้องมีคุณสมบัติตามนิยามหรือหลักการกำหนดไว้  ถ้ามีคุณสมบัติและเข้าเกณฑ์ตามหลักการของการเป็นผู้นำแล้ว  แน่นอนก็จำเป็นที่เราต้องเชื่อฟัง  แต่กรณีของจุฬาราชมนตรีนี่สิ  พิจารณาดูแล้วไม่น่าจะเข้าหลักเกณฑ์ตามที่หลักการกำหนดไว้  หากจะเป็นผู้นำก็เป็นเพียงผู้นำย่อยตามกรอบของกฎหมายเท่านั้น!  ข้อเขียนของอาจารย์สรุปอย่างนี้  ก็ไม่เป็นไรดอก!  ค่อยๆ วิเคราะห์  อินชาอัลลอฮฺ  เราคงได้คำตอบในท้ายที่สุดว่าใช่หรือไม่ใช่

 

อาจารย์เขียนว่า  :

“เพราะนิยามผู้นำตามหลักการนั้น  ไม่ได้แยกระหว่างผู้นำศาสนากับผู้นำทางการเมือง  (ผู้ปกครอง)”

คำซักค้าน

จริงอย่างที่ว่า  ผู้นำตามหลักการนั้นไม่ได้แยกระหว่างผู้นำศาสนากับผู้นำทางการเมือง  เพราะอิสลามไม่ได้แยกศาสนาออกจากการเมืองและการปกครอง  ดังนั้นผู้ปกครองรัฐอิสลาม  (อัดเดาวฺละฮฺ  อัล-อิสลามียะฮฺ)  ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดที่เรียกว่า เคาะลีฟะฮฺหรืออิมามอะอฺซอมจึงเป็นผู้นำประชาคมมุสลิมทั้งในด้านศาสนจักรและอาณาจักร  เพราะคำว่า อิมามะฮฺ,คิลาฟะฮฺ, สุลฏอน, มุลก์ และอิมาเราะฮฺ  ตามนัยบ่งชี้ทางภาษาที่แตกต่างกันมุ่งหมายตามหลักบัญญัติของศาสนา  (อัช-ชัรฺอ์)  ยังความหมายเดียวกัน  คือ  ( قِيَادَةُ الأُمَّةِ وَحُكْمُهَا )  “การเป็นผู้นำประชาคมและการปกครองประชาคมนั้น”

(มันฮัจญ์  อัส-สุนนะฮฺ  ฟิล  อะลาเกาะฮฺ  บัยนัล  หากิม  วัล-มะหฺกูม  ;  ดร.ยะหฺยา  อิสมาอีล  หน้า  235) 

 

และชัยคุลอิสลาม  อิบนุตัยมียะฮฺ  กล่าวว่า  :  “อัล-วิลายะฮฺและอัส-สุลฏอน  หมายถึงความสามารถ  (อำนาจ)  ที่เกิดขึ้นจริง  เหตุนั้นการเป็นผู้นำ  (อิมามะฮฺ)  จึงเป็นทั้งมุลก์  (อำนาจของกษัตริย์)  และสุลฏอน  (อำนาจในการบังคับบัญชา)”

(มินฮาญุสสุนนะฮฺ  ;  อิบนุตัยมียะฮฺ  1/141-142) 

 

ส่วนนิยามตามหลักบัญญัติของศาสนา  (อัช-ชัรฺอ์)  นั้น อิมามอัล-ญุวัยนียฺ  นิยามว่า  :  อัล-อิมามะฮฺ  คือตำแหน่งการเป็นผู้นำ  (ริยาสะฮฺ)  อันสมบูรณ์  และสถานภาพการเป็นผู้นำ  (ซิอามะฮฺ)  ที่ครอบคลุม  (อามมะฮฺ)  ซึ่งจะผูกพันเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เจาะจงเฉพาะ  (คอศ-เศาะฮฺ)  และสิ่งที่ครอบคลุมโดยรวม  (อามมะฮฺ)  ในประเด็นสำคัญๆของศาสนาและทางโลกโดยมีนัยรวมๆถึงการพิทักษ์รักษาอธิปไตย  การดูแลผู้อยู่ใต้การรับผิดชอบ  (อัร-เราะอียะฮฺ)  การดำรงการเรียกร้องด้วยหลักฐานและดาบ  การระงับความเบี่ยงเบนและการอธรรม  การให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ที่ถูกอธรรมจากเหล่าผู้อธรรมการเรียกร้องสิทธิอันสมบูรณ์จากบรรดาผู้ขัดขืนและทำให้สิทธินั้นเกิดแก่ผู้ที่มีสิทธิโดยชอบ”

(ฆิยาษุลอุมัม  ;  อิมามุลหะเราะมัยนฺ  อัล-ญุวัยนียฺ  หน้า  15) 

 

ส่วน อิบนุ  ค็อลดูนนิยามความเป็นผู้นำ  (อิมามะฮฺ)  ว่า  :  “การนำพาส่วนร่วมทั้งหมดให้เป็นไปตามมุมมองของบัญญัติศาสนาในบรรดาสิทธิประโยชน์ของพวกเขาทั้งที่เกี่ยวกับอาคิเราะฮฺ  (อุคเราะวียะฮฺ)  และดุนยาที่กลับไปยังตำแหน่งการเป็นผู้นำนั้น”

(อัล-มุกอดดิมะฮฺหน้า  170)

 

อัด-ดิฮฺละวียฺ  นิยามตำแหน่งคิลาฟะฮฺว่า  :  คือความเป็นผู้นำโดยรวม  (อัร-ริยาสะฮฺ  อัล-อามมะฮฺ)  ในการเผชิญหน้าเพื่อดำรงศาสนาให้มั่นคงด้วยการฟื้นฟูวิชาการทางศาสนาดำรงมุขบัญญัติของอิสลาม  ดำรงการญิฮาดและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการญิฮาดจากการจัดระเบียบกองทัพและสิ่งที่ถูกกำหนดแก่บรรดานักรบ  การมอบสินสงครามแก่พวกเขา  การทำหน้าที่พิพากษาชำระคดีความ  การดำเนินการตามบทลงโทษ  (อัล-หุดูด)  การขจัดสิ่งที่อธรรมด้วยการรับฎีกา  การสั่งใช้ให้กระทำคุณงามความดีและห้ามปรามจากความชั่วเป็นการปฏิบัติหน้าที่แทนท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)”

(อิกลีล  อัล-กะรอมะฮฺ  ฟี  ติบยาน  มะกอศิด  อัล-อิมามะฮฺ  ;  ศิดดีก  หะสัน  ข่าน  หน้า  23)

 

สะอฺดุดดีน  อัต-ตัฟตาซานียฺ  นิยามความเป็นผู้นำสูงสุด  (คิลาฟะฮฺ)  ว่า :  การเป็นผู้นำโดยรวม (ริอาสะฮฺ  อามมะฮฺ)  ในการกิจของศาสนาและทางโลก  เป็นผู้สืบทอดจากท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)”

(ชัรฺหุล  อะกออิด  อัน-นะสะฟียะฮฺ  อ้างจาก อัล-คิลาฟะฮฺ  ของเราะชีด  ริฎอ  หน้า  10)

 

และอัล-มาวัรฺดียฺ  นิยามว่า  “อัล-อิมามะฮฺ  คือสิ่งที่ถูกวางเพื่อสืบทอดภารกิจของผู้เป็นนบี  (อัน-นุบูวะฮฺ)  ในการพิทักษ์ศาสนาและการปกครองดุนยา”

(อัล-อะหฺกาม  อัส-สุลฏอนียะฮฺ  หน้า  3)

 

คำนิยามสำหรับความเป็นผู้นำในฐานะอิมามสูงสุดหรือเคาะลีฟะฮฺของเหล่านักวิชาการข้างต้นนั่นมุ่งหมายถึง  ตำแหน่งของประมุขแห่งรัฐอิสลามที่สมบูรณ์  ซึ่งแน่นอนจุฬาราชมนตรีไม่ใช่ประมุขแห่งรัฐอิสลาม  คือมิใช่เคาะลีฟะฮฺที่สมบูรณ์ตามนิยามดังกล่าว  เพราะนักวิชาการแบ่งประเภทของคิลาฟะฮฺหรืออิมามะฮฺเป็น   2  ประเภทคือ

1) คิลาฟะฮฺที่สมบูรณ์  (ตามมะฮฺ)

2) คิลาฟะฮฺที่ไม่สมบูรณ์  (ฆอยรุ้ตามมะฮฺ)

 

คิลาฟะฮฺที่สมบูรณ์ก็คือความเป็นผู้นำสูงสุดที่มวลมุสลิมเห็นพ้องเป็นมติเอกฉันท์ต่อการเป็นผู้นำนั้น  และบรรดาผู้ปฏิเสธก็ถูกทำสงครามด้วยการเป็นผู้นำนั้น  และศาสนาก็ปรากฏเด่นชัดด้วยความเป็นผู้นำนั้น  คิลาฟะฮฺที่สมบูรณ์นี้หากพิจารณาถึงเงื่อนไขที่กำหนดว่าจะต้องมีการทำสงครามญิฮาดกับบรรดาผู้ปฏิเสธก็จะสิ้นสุดลงนับแต่สิ้นสมัยของเคาะลีฟะฮฺอุษมาน  อิบนุอัฟฟาน  (ร.ฎ.)  (ดูมินฮาญุสสุนะฮฺ  2/208)  แต่ถ้าพิจารณาถึงช่วงระยะเวลา  30  ปีแห่งการเป็นคิลาฟะฮฺอัน-นุบูวะฮฺตามที่ระบุในหะดีษของท่านสะฟีนะฮฺ  (ร.ฎ.)  ก็จะรวมถึงช่วงเวลาการเป็นเคาะลีฟะฮฺของท่านอัล-หะสัน  อิบนุ  อะลี  (ร.ฎ.)  ตลอดระยะเวลา  6  เดือนและสิ้นสุดลงเมื่อมีการสละตำแหน่ง  (ตะนาซุล)  ให้แก่ท่านมุอาวียะฮฺ  อิบนุ  อบีสุฟยาน  (ร.ฎ.)  ปี ฮ.ศ.41

(มันฮะญุสสุนนะฮฺ  ;  ดร.ยะหฺยา  อิสมาอีล  หน้า  250)

 

ส่วนคิลาฟะฮฺที่ไม่สมบูรณ์  (อัล-คิลาฟะฮฺ  ฆ็อยรุตตามมะฮฺ)  หมายถึง  การเป็นผู้นำที่ประชาคมร่วมกันบนความเป็นผู้นำนั้น  ตามที่นักวิชาการอัล-หะดีษชาวเมืองอัล-บัศเราะฮฺ  ,  ชาม  และอัล-อันดะลุส  ได้กล่าวไว้  (มินฮาญุสสุนนะฮฺ  ;  อิบนุตัยมียะฮฺ  2/208)  โดยไม่มีการรบพุ่งกับเหล่าผู้ปฏิเสธ  คิลาฟะฮฺประเภทที่สองนี้เรียกว่า  คิลาฟะฮฺตุลมุลก์  (คือเป็นผู้นำแบบกษัตริย์)  ซึ่งเริ่มต้นนับตั้งแต่ท่านเคาะลีฟะฮฺมุอาวียะฮฺ  อิบนุ  อบีสุฟยาน (ร.ฎ.)  ตราบจนสิ้นสุดระบอบคิลาฟะฮฺในรัฐอุษมานียะฮฺ  (ออตโตมานเติร์ก)  ในปีค.ศ.1923

 

หากท่านอาจารย์ยึดคำนิยามของนักวิชาการข้างต้นนั้นก็หมายความว่า  สถานภาพของผู้นำที่สมบูรณ์ซึ่งเราจำต้องฏออะฮฺเชื่อฟังนั้นหมดไปจากโลกนี้นับตั้งแต่ปีฮ.ศ.ที่  41  แล้ว  เพราะคำนิยามว่าด้วยผู้นำรัฐอิสลามที่สมบูรณ์ซึ่งนักวิชาการกำหนดเอาไว้มุ่งหมายถึง  คิลาฟะฮฺตามมะฮฺ  หรือคิลาฟะฮฺอัน-นุบูวะฮฺ คือสถานภาพการเป็นผู้นำสูงสุดของรัฐอิสลามที่สมบูรณ์  ส่วนสถานภาพการเป็นผู้นำที่ไม่สมบูรณ์นั้นไม่เข้าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขบางข้อหรือส่วนใหญ่ในคำนิยามเหล่านั้น  หรืออาจกล่าวได้ว่าไม่เป็นไปตามนิยามหรือหลักการที่ท่านอาจารย์ได้กำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้นำที่จำต้องเชื่อฟัง

 

ซึ่งถ้าถามว่าใครผู้นำสูงสุดที่มีสถานภาพการเป็นผู้นำที่สมบูรณ์ตามหลักการและนิยามซึ่งจำเป็นต้องภักดีและเชื่อฟังก็คงตอบได้ว่า  คือ  เคาะลีฟะฮฺอัร-รอชิดทั้ง 4 ท่านและท่านเคาะลีฟะฮฺอุมัรฺ  อิบนุ  อับดิลอะซีซ  (ร.ฎ.)  ตลอดจนท่านอัล-หะสัน  อิบนุ  อะลี  (ร.ฎ.)  อื่นจากนั้นเป็นเคาะลีฟะฮฺที่ไม่สมบูรณ์คือไม่ใช่คิลาฟะฮฺอัน-นุบูวะฮฺ

 

แต่ถ้าท่านอาจารย์จะซักค้านว่า  ไม่เลย!  เรากำลังพูดถึง  “หากิม”  คือผู้ปกครองที่มีอำนาจทั้งทางด้านศาสนาและการเมืองการปกครอง  มีอำนาจในการลงโทษกับผู้ที่ฝ่าฝืน  ซึ่งบรรดาเคาะลีฟะฮฺในรัฐอิสลามหลังยุคคุละฟาอฺ  อัร-รอชิดูนก็เข้าอยู่ภายใต้คำนิยามและหลักการว่าด้วยความเป็นผู้นำที่จำต้องเชื่อฟังตามหลักการของศาสนา  เราก็ซักค้านตอบได้ว่า  สำหรับเราแล้ว  ผู้ปกครองที่เป็นเคาะลีฟะฮฺในรัฐอิสลามทั้งหมด  เรายอมรับอยู่แล้วว่าพวกเขาคือผู้นำที่ผู้คนในสมัยของท่านเหล่านั้นจะต้องเชื่อฟัง

 

แต่เงื่อนไขที่ท่านอาจารย์กำหนดว่าต้องมีอำนาจในการลงโทษ  มีอำนาจในด้านการปกครองทางการเมืองด้วย  นั่นแหล่ะคือปัญหาเพราะบรรดาเคาะลีฟะฮฺเป็นจำนวนมากในราชวงศ์อัลอับบาสิยะฮฺ  ช่วงยุคที่สองอันเป็นยุคเสื่อมถูกกีดกันอยู่ในพระราชวัง  ไม่มีอำนาจในการปกครองรัฐเพราะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกเปอร์เซีย  เติร์ก  และเสลญูก  มิหนำซ้ำยังถูกใช้เป็นหุ่นเชิดเป็นของเล่นของพวกเติร์ก  เคาะลีฟะฮฺเหล่านั้นเป็นเพียงผู้นำทางศาสนาโดยสัญลักษณ์เท่านั้น 

(ดูรายละเอียดในบทความว่าด้วยการเคลื่อนย้ายสถานภาพการเป็นเคาะลีฟะฮฺจากราชวงศ์อัลอับบาสียะฮฺ    กรุงไคโรสู่สุลฏอนสะลีมข่านแห่งอุษมานียะฮฺในเว็บไซต์

 

แม้แต่บรรดาสุลฏอนหรือเคาะลีฟะฮฺในราชวงศ์อัลอุษมานียะฮฺแห่งตุรกีในช่วงเสื่อมก็กลายเป็นผู้ไร้อำนาจและถูกพวกกองทหารเจนนิสซารียฺ  (อิงกิชารียะฮฺ เยนี  ตัชรียฺเข้ามาแทรกแซง  และแม้แต่บรรดาเคาะลีฟะฮฺแห่งอัลอับบาสียะฮฺ    กรุงไคโรที่ได้รับการฟื้นฟูโดยรุกนูดดีน  บัยบรัส  อัลบันดะเกาะดะรียฺซึ่งเป็นสุลฏอนมัมลูกียะฮฺ  ทั้งหมดเป็นผู้ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺและไม่มีอำนาจทางการเมืองการปกครองแต่อย่างใด  และอาจกล่าวได้ว่าผู้นำรัฐอิสลามที่ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺในช่วงปลายอัลอับบาสียะฮฺเป็นต้นมาเป็นผู้นำทางศาสนาและผู้นำทางจิตวิญญาณเท่านั้น  ถึงแม้จะเป็นผู้มอบอำนาจโดยการแต่งตั้ง  ถูกขอดุอาอฺให้ในการแสดงคุฏบะฮฺวันศุกร์  ถูกจารึกพระนามในเหรียญกษาปณ์  แต่อำนาจทางการเมืองการปกครองตกอยู่ในกำมือของบรรดาสุลฏอน   ซึ่งมีทั้งพวกเติร์กและเสลญูกตลอดจนพวกอะตาเบก 

 

แน่นอนตามหลักการและนิยามของความเป็นผู้นำที่จำต้องปฏิบัติตามนั้นไม่ได้แยกระหว่างศาสนากับการเมือง  แต่ข้อเท็จจริง  (อัลวากิอียะฮฺที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์อิสลามนับพันปี  ผู้นำของชาวมุสลิมที่ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺหรืออิมามสูงสุดถูกปฏิบัติในฐานะผู้นำทางศาสนาเท่านั้น  ส่วนอำนาจทางการเมืองการปกครอง  การให้คุณให้โทษแก่ผู้ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนหาได้มีไม่ 

 

ข้อเขียนของอาจารย์ที่ว่า :

หากเราจะเอาแบบชาวโลกเขาก็อีกเรื่องหนึ่ง  เพราะชาวโลกเขามีผู้นำทางศาสนาต่างหาก  แยกไปจากผู้นำทางการเมือง  (ผู้ปกครองเช่น  โป๊บ  สังฆราช  ฯลฯ  ตกลงมุสลิมเหมือนคริสต์  พุทธ  พราหมณ์  ด้วยหรือไม่  กรณีมีผู้นำทางศาสนาแยกออกจากผู้ปกครองสูงสุด” 

ก็อธิบายได้ว่า

ถ้าเราพูดถึงระบอบคิลาฟะฮฺ หรืออิมามะฮฺ  อุซฺมา  ตามหลักรัฐศาสตร์อิสลามที่มีบรรทัดฐานมาจากระบอบการปกครองแบบคิลาฟะฮฺ  อันนุบูวะฮฺและถือตามคำนิยามก็ตอบได้ว่า  ไม่เหมือนอย่างชาวโลกที่ว่าแน่นอนเพราะโดยหลักการและคำนิยามไม่ได้แยกระหว่างความเป็นผู้นำทางศาสนากับความเป็นผู้นำทางการเมืองการปกครองและนั่นคือผู้นำที่สมบูรณ์ตามหลักการของอิสลาม  แต่สถานการณ์และความเป็นจริงในประวัติศาสตร์อิสลามมีเรื่องจริงที่ว่า  เคาะลีฟะฮฺกลายเป็นผู้นำทางศาสนา  ในขณะที่บรรดาสุลฏอนแห่งเสลญูกเติร์กและมัมลูกียะฮฺกลายเป็นผู้นำที่มีอำนาจทางการเมืองและการปกครอง  มีเรื่องจริงเช่นนี้เกิดขึ้น 

 

กระนั้นก็ใช่ว่าสภาวะการณ์ที่เกิดขึ้นจะไปเหมือนกับชาวโลกที่เป็นคนในศาสนาอื่น  เพราะโป๊บหรือพระสันตะปาปาเป็นพระในคริสต์ศาสนานิกายโรมันแคทอลิก  มีอำนาจสืบทอดจากเซนต์ปิเตอร์หนึ่งในอัครสาวกของพระเยซูคริสต์  ซึ่งในคัมภีร์ไบเบิ้ลระบุว่า  : “ฝ่ายเราบอกท่านว่าท่านคือเปโตร  (Peter)  และบนศิลานี้เราจะสร้างคริสตจักรของเราไว้และพลังแห่งความตายจะมีชัยต่อคริสตจักรนั้นหามิได้  เราจะมอบลูกกุญแจแผ่นดินสวรรค์ให้ไว้แก่ท่าน  ท่านจะกล่าวห้ามสิ่งใดในโลก  สิ่งนั้นก็จะถูกกล่าวห้ามในสวรรค์  เมื่อท่านจะกล่าวอนุญาตสิ่งใดในโลก  สิ่งนั้นจะกล่าวอนุญาตในสวรรค์ด้วย”  (มัทธิว  16:18,19) 

 

นั่นหมายความว่า  พระสันตะปาปามีสิทธิในเรื่องตะหฺลีลและตะหฺรีม  (อนุญาติและห้ามสิ่งใดก็ได้  ซึ่งเป็นชิรฺกุฏฏออะฮฺ  แต่เคาะลีฟะฮฺหรือผู้นำประชาคมมุสลิมทำเช่นนั้นไม่ได้โดยเด็ดขาดไม่ว่าจะเป็นผู้นำทางศาสนาหรือผู้นำทางการเมืองหรือเป็นผู้นำทั้งสองอย่างก็ตาม  ความเป็นมุสลิมในเรื่องความเชื่อและหลักปฏิบัติตามศาสนาอิสลามของผู้นำทางศาสนาที่เป็นมุสลิมแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับกรณีของโป๊บหรือพระสันตะปาปาอย่างแน่นอน  และในบางยุคเช่นยุคกลางพระสันตะปาปาแห่งกรุงโรมก็มีอำนาจควบคู่ทั้งทางศาสนจักรและอาณาจักรด้วยซ้ำไป  ทำให้ยุโรปในยุคใหม่จำต้องแยกศาสนาออกจากการเมืองตามลัทธิโลกนิยมหรือแซคคิวล่าร์อย่างที่รู้กัน 

 

ส่วนสมเด็จพระสังฆราชในพุทธศาสนา  เป็นพระสงฆ์ไม่ใช่ฆราวาส  เป็นประมุขของคณะสงฆ์และไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจทางโลก  ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้นำทางศาสนาแต่ก็แตกต่างจากผู้นำทางศาสนาที่เป็นชาวมุสลิมแน่นอน  การตั้งประเด็นของอาจารย์ที่ว่าตกลงมุสลิมเหมือนคริสต์กับพุทธด้วยหรือไม่  กรณีมีผู้นำทางศาสนาแยกออกจากผู้ปกครองสูงสุด  เป็นการตั้งประเด็นที่ไม่ควรจะตั้งเป็นประเด็นนับแต่ต้นแล้ว  เพราะถึงแม้ผู้นำทางศาสนาที่เป็นมุสลิมจะไม่ใช่ผู้มีอำนาจทางการเมืองและการปกครองสูงสุด  ก็ไม่จำเป็นว่าผู้นำทางศาสนาที่เป็นมุสลิมจะต้องเหมือนกับผู้นำทางศาสนาของศาสนาอื่นๆ

 

ในทำนองเดียวกันหากบางยุคจะมีผู้นำทางศาสนาของศาสนาอื่นๆ ที่มีอำนาจในการปกครองไปด้วยในเวลาเดียวกัน  ก็ไม่จำเป็นว่าผู้นำทางศาสนานั้นๆจะต้องเหมือนกับผู้นำของประชาคมมุสลิมในระบอบคิลาฟะฮฺเพราะองค์ดาไลลามะของธิเบตในยุคก่อนจีนยึดครองก็เป็นผู้นำสูงสุดของชาวธิเบตทั้งทางศาสนจักรและอาณาจักร  พระสันตะปาปาในยุคกลางก็มีอำนาจทั้งทางศาสนจักรและอาณาจักร  คนในวรรณะพราหมณ์บางยุคก็เป็นกษัตริย์และปกครองอาณาจักร 

 

หากได้อ่านประวัติศาสตร์โลกแล้วก็จะเห็นว่าสิ่งที่ข้าพเจ้ากล่าวไม่ได้เกินจริงแต่อย่างใดเลย และคงไม่ผิดหากข้าพเจ้าจะค้านว่า  ผู้นำทางศาสนาที่เป็นชาวมุสลิมนั้นย่อมแตกต่างจากผู้นำทางศาสนาคริสต์  พุทธ  และพราหมณ์อย่างแน่นอน  และการที่ผู้นำทางศาสนาซึ่งเป็นมุสลิมไม่มีอำนาจในด้านการเมืองการปกครองหรือถูกแบ่งแยกระหว่างความเป็นผู้นำทางศาสนากับความเป็นผู้ปกครองสูงสุดนั่นก็ไม่ใช่ประเด็นที่จะตัดสินว่าผู้นำทางศาสนาจะต้องเหมือนกับผู้นำในศาสนาอื่นๆแต่อย่างใด 

 

และข้อเขียนของอาจารย์ที่ว่า  :

และหากมี  (ระบบผู้นำศาสนาถามว่า  เคยมีในยุคใดสมัยใดในประวัติศาสตร์อิสลาม”  

คำตอบก็คือ

ถ้าถามถึงระบบ  (นิซฺอมโดยมีนักการศาสนา  (ริญาลุดดีนเป็นผู้ปกครองสูงสุดและอ้างอำนาจของเทพเจ้าหรือพระเจ้าในความชอบธรรม  ระบบเช่นนี้เรียกว่า  تيو قرا طية (theocracy)  ซึ่งเป็นรัฐที่ผู้ปกครองอ้างอำนาจการปกครองจากเทพเจ้าหรือพระเจ้า  ไม่ว่าผู้ปกครองนั้นจะเป็นคนๆ เดียวหรือคณะบุคคลที่เป็นนักการศาสนา (อัฎวาอฺ  อะลาอันนุซุม  อัลอิสลามียะฮฺ  ;  ดร.อับดุลกอดิรฺ  สัยยิด  อับดุรฺเราะอูฟ  หน้า 75) ระบอบการปกครองนี้ไม่มีอย่างแน่นอนในประวัติศาสตร์อิสลามในอดีต  หากจะมีก็เป็นกลุ่มชีอะฮฺอิมามียะฮฺที่เป็นรัฐของเหล่าอายาตุลลอฮฺซึ่งไม่ใช่ประเด็นที่เรากำลังกล่าวถึง 

 

แต่ถ้าถามว่าในประวัติศาสตร์อิสลามเคยมีช่วงเวลาใดบ้างที่ผู้ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺอยู่ในสถานะผู้นำทางศาสนาเพียงอย่างเดียว  โดยไม่มีอำนาจในด้านการเมืองการปกครอง  ก็ตอบได้ว่า  มีอย่างแน่นอน  ถ้าเราไม่ปฏิเสธข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในช่วงที่ 2 ของอาณาจักรอัลอับบาสียะฮฺทั้งที่นครแบกแดดและกรุงไคโร  จะเรียกว่าระบอบหรือไม่ก็ตาม 

 

แต่ถ้าจะถามว่าเคยมีระบบที่กำหนดให้มีฝ่ายที่รับผิดชอบกิจการศาสนาอิสลามเป็นการเฉพาะที่ไม่เกี่ยวกับฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครองหรือไม่ โดยฝ่ายที่รับผิดชอบนี้เป็นอิมามหรือปราชญ์ทางศาสนา  (อุละมาอฺที่มีหน้าที่ในการพิพากษาอรรถคดีตามหลักนิติธรรมอิสลามเท่านั้น  ก็ตอบได้ว่า  มีอย่างแน่นอน  ก็คือบรรดาผู้พิพากษา  (อัลกุฎอฮฺในรัฐอิสลามนับตั้งแต่ยุคของบรรดาคุละฟาอฺ  อัรรอชิดูน  และการแยกระบบของศาลอิสลามออกจากฝ่ายการเมืองการปกครองนี้ก็เริ่มมีมานับแต่สมัยของท่านเคาะลีฟะฮฺอุมัร  (..)  โน่นแล้ว  และบรรดาผู้พิพากษาในยุคของอัสสะลัฟ อัศศอลิหฺก็ล้วนแต่เป็นนักวิชาการทางศาสนา  เป็นอิมามซึ่งคงไม่ผิดหากเราจะเรียกพวกเขาว่าเป็นผู้นำศาสนา 

 

แต่ถ้าอาจารย์จะค้านว่าข้าพเจ้าออกนอกเรื่อง  เพราะกอฎียฺไม่ใช่หากิม  และเรากำลังพูดถึงเรื่องของหากิม  (ผู้ปกครองไม่ได้พูดถึงเรื่องของผู้พิพากษาหรืออัลกอฎียฺข้าพเจ้าก็ยืนยันได้ว่า  เปล่าเลย  ข้าพเจ้าไม่ได้ออกนอกเรื่องเลยแม้แต้นิดเดียว  เพราะคำว่า  “อัลเกาะฎออฺ”  ( ُالقَضَاءตามหลักภาษาหมายถึง  การตัดสินระหว่างผู้คน  และอัลกอฎียฺก็หมายถึง  “อัลหากิม” คือผู้ตัดสิน  และตามหลักการของศาสนา  (ชัรฺอันอัลเกาะฎออฺ  หมายถึง  การตัดสินข้อพิพาทและการตัดสินข้อถกเถียงให้เป็นที่ยุติ 

(อัดดุรฺรุลมุคตารฺ  4/309 ,  อัชชัรฺหุลกะบีรฺ  ;  อัดดัรฺดีรฺ  4/129 ,  อัลฟิกฮุลอิสลามียฺ  ว่าอะดิลละตุฮู  ;  ดร.วะฮฺบะฮฺ  อัซซุหัยลียฺ  เล่มที่  6  หน้า  739) 

 

โปรดสังเกตว่าความหมายทางภาษาของคำว่า  “อัลกอฎียฺ”  ก็คือ  “อัลหากิม”  ถึงแม้ว่านัยของอัลหากิมจะกว้างกว่า  และหน้าที่ของอัลกอฎียฺก็คือหน้าที่ของอัลหากิมโดยส่วนใหญ่ตามที่มีระบุในคำนิยามของผู้นำสูงสุด  (คิลาฟะฮฺอิมามะฮฺ(ดูคำนิยามของอัดดิฮฺละวียฺ  ตามที่ศิดดีก  หะสัน  ข่านระบุไว้ในอิกลีล  อัลกะรอมะฮฺ  หน้า  23)  เช่น  การทำหน้าที่พิพากษา  ( القيام بالقضاءการดำเนินการเกี่ยวกับบทลงโทษ  (อัลหุดูดตามคดีอาญา  ( إقامة الحدود )  การสั่งใช้ให้ประกอบความดีและห้ามปรามจากความชั่ว  ( الأمر بالمعروف والنهى عن المنكر )  เป็นต้น  (ดูรายละเอียดในอัลอัฎวาอฺฯ  ดร.อับดุลกอดิร  สัยยิด  อับดุรฺเราะอูฟ  หน้า  359) 

 

ทั้งนี้ในสมัยของท่านรสูล  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)  ท่านทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาคดีความระหว่างผู้คน  ประชาคมมุสลิมในสมัยนั้นไม่มีผู้พิพากษา  (กอฎียฺนอกจากท่านรสูล  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)  โดยการรวมอำนาจทั้ง  3  เอาไว้ในตัวท่าน  คือ  อำนาจนิติบัญญัติ  (อัตตัชรีอฺอำนาจการบริหาร  (อัตตัมฟีซฺและอำนาจตุลาการ  (อัลเกาะฎออฺ

 

และเมื่อรัฐอิสลามแผ่ขยายมากขึ้น  ท่านรสูล  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)  ได้มอบหมายให้เศาะหาบะฮฺบางท่านทำหน้าที่ในการตัดสินและชำระความ  เช่น  ส่งท่านอะลี  (..)  และท่านมุอาซฺ  (..)  ไปเป็นผู้ตัดสินคดีความที่ยะมัน  และแต่งตั้งท่านอัตต็าบ  อิบนุ  อุสัยยิด  (..)  เป็นผู้ปกครองมักกะฮฺและเป็นผู้พิพากษาภายหลังการพิชิตนครมักกะฮฺ  บรรดาอัลคุละฟาอฺ  อัรฺรอชิดูนก็ดำเนินตามแนวทางนี้  ในสมัยเคาะลีฟะฮฺอบูบักรฺ  (..)  ท่านอุมัรฺ  (..)  เป็นผู้พิพากษาโดยในช่วงเวลา  2  ปี  ไม่มีคู่กรณีนำเรื่องสู่การพิพากษาของท่านอุมัร  (..)  แต่อย่างใด 

 

และเมื่อท่านอุมัรฺ  (..)  เป็นเคาะลีฟะฮฺ  ท่านก็แยกฝ่ายตุลาการออกจากฝ่ายอำนาจบริหาร  (อัลวิลายะฮฺ  อัลอิดารียะฮฺและแต่งตั้งบรรดาผู้พิพากษา  (อัลกุฎออฺในหัวเมืองทั่วรัฐอิสลามเช่นนครมะดีนะฮฺ  ,  มักกะฮฺ  ,  อัลบัศเราะฮฺ  ,  อัลกูฟะฮฺ  และอียิปต์  (อัลเกาะฎออฺ  ฟิลอิสลาม  ;  อาริฟ  อันนักดียฺ  หน้า  79)  และการพิพากษาของเหล่ากอฎียฺที่แยกเป็นเอกเทศจากเคาะลีฟะฮฺจะจำกัดอยู่เฉพาะในส่วนของคดีแพ่งและทรัพย์สิน  (อัลอิสลาม  วัลหะฎอเราะฮฺ  อัลอะเราะบียะฮฺ  ;  มุฮัมมัด  กุรด์  อะลี  2/154)  ตลอดจนพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวและมรดก  (อะหฺกาม  อัลอุสเราะฮฺ  วัลมีรอษฺการพิพากษาเพื่อปกครองทรัพย์ของผู้ที่ไร้วุฒิภาวะและการเป็นอิมามนำละหมาดวันศุกร์และวันอีด  (อัลอัฎวาอฺ  ;  ดร.อับดุลกอดิรฯ  หน้า  359) 

 

ส่วนคดีอาญาที่จำต้องมีการพิพากษาให้ประหารชีวิต  (กิศอศหรือการลงโทษ  (อัลหุดูดยังคงอยู่ในอำนาจของเคาะลีฟะฮฺ  และบรรดาผู้ปกครองแคว้นที่มีอำนาจทั่วไป  (อัลวิลายะฮฺ  อัลอามมะฮฺส่วนบรรดาผู้ปกครองที่มีอำนาจเฉพาะ  (อัลวิลายะฮฺ  อัลคอศเศาะฮฺจะมีสิทธิเพียงแค่การดำเนินบทลงโทษตามคดีอาญาที่ล่วงละเมิดสิทธิของพระองค์อัลลอฮฺ  (..)  เท่านั้น  เช่น  คดีการเฆี่ยนหรือขว้างผู้ผิดประเวณีหรือเฉพาะที่เกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคลหากมีการร้องขอ  (อะหฺกาม  อัสสุลฏอนียะฮฺ  ; อัลมาวัรฺดียฺ  หน้า  30) 

 

เหตุที่ต้องลงรายละเอียดเกี่ยวกับกรณีของการใช้อำนาจฝ่ายตุลาการของอัลกอฎียฺก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า  ในบางนัยหรือในหลายๆกรณี  กอฎียฺก็คือหากิมและชี้ให้เห็นว่ามีการแบ่งอำนาจในระหว่างผู้ปกครองตามหลักรัฐศาสตร์อิสลาม  ตลอดจนมีการแยกอำนาจฝ่ายตุลาการซึ่งเคยเป็นของผู้นำสูงสุด  (เคาะลีฟะฮฺออกจากฝ่ายที่มีอำนาจบริหารหรือฝ่ายการเมืองนับตั้งแต่ยุคของสะลัฟศอลิหฺแล้ว 

 

ปัญหาจริงๆจึงอยู่ที่การให้คำนิยามของอาจารย์  สำหรับคำว่า  “หากิม”  ในข้อเขียนที่ว่า  :  นี่แหล่ะคือปัญหา  เพราะคำว่า  “ฮาเก่ม”  คือผู้มีอำนาจ  ถามว่าจุฬามีอำนาจไหม  เมื่อออกคำสั่งแล้ว  หากมีคนฝืนจุฬาทำอะไรได้บ้าง  หลักการไม่ใช่ปัญหา  ปัญหาคือการใช้คำว่า  “ฮาเก่ม”  กับตำแหน่งจุฬาต่างหาก …” 

แน่นอนหลักการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการนั้นย่อมไม่มีปัญหาแต่ปัญหาอยู่ที่ความเข้าใจของอาจารย์เกี่ยวกับนิยามคำว่า  “อัลหากิม”  และเรื่องบริบทแห่งอำนาจต่างหากเพราะสิ่งที่เรากำลังพูดถึงคือกรณีของบุคคลที่ถูกให้ชื่อว่ามีคุณสมบัติอย่างไรต่างหาก  ไม่ใช่อยู่ที่เพียงชื่อหรือตำแหน่งที่ใช้เรียก  ดังคำกล่าวของนักวิชาการที่ระบุว่า  إِنَّمَا الْعِبْرَةُ بِالْـمُسَمَّيَاتِ لاَ بِالأَسْمَاء   อันที่จริงการพิจารณานั้นอยู่ที่สิ่งที่ถูกเรียกชื่อ ไม่ใช่พิจารณาที่ชื่อเรียก

 

ดังนั้นการที่เราจะเรียกตัวบุคคลที่เป็นผู้นำว่าอิมาม, อะมีร, เราะอีส, วะลียุลอัมร์, สุลฎอน, หากิม, กอฎียฺ หรือเคาะลีฟะฮฺ นั่นไม่ใช่ปัญหา  เพราะชื่อเรียกเหล่านี้มีความหมายใกล้เคียงกัน  (อัล-มุตะรอดิฟาต)  ถึงแม้ว่าแต่ละคำที่ใช้เรียกจะมีนัยที่ต่างกันคือมีกว้าง (อุมูม) แคบ (คุศูศ)  และครอบคลุมแบบไร้เงื่อนไข  (มุฏลัก)  ตลอดจนจำกัดด้วยเงื่อนไข  (มุก็อยยัด)  และถึงแม้ว่านิยามทางวิชาการ  (มุศเฏาะละหาต)  ของคำว่า  อิมามะฮฺ-คิลาฟะฮฺจะเป็นที่แพร่หลายมากที่สุดในการเรียกผู้นำสูงสุดของรัฐอิสลามคือเคาะลีฟะฮฺ, อิมาม และอะมีรฺ  ซึ่งเคาะลีฟะฮฺอัล-มะอฺมูน  ถูกเรียกขานทั้ง  3  ชื่อนี้ในตราเหรียญกษาปณ์ว่า “อิมาม” และถูกโต้ตอบ (คิฏอบ) ในเวลาเดียวกันว่า  อะมีรฺ  อัล-มุอฺมินีนและถูกเรียกว่าเคาะลีฟะฮฺ

(อันนัซริยาตฺ  อัส-สิยาสิยะฮฺ  อัล-อิสลามียะฮฺ  ;  มุฮัมมัด  ฎิยาอุดดีน  อัร-รีส  หน้า  118) 

 

เหตุนี้ สัยยิดเราะชีด  ริฎอจึงกล่าวว่า : อัล-คิลาฟะฮฺและอัล-อิมามะฮฺ  อัล-อุซฺมา  ตลอดจนอิมาเราะฮฺ  อัล-มุอฺมินีน  3  คำนี้มีความหมายเดียวกัน  (อัล-คิลาฟะฮฺ  หน้า  10)  และในช่วงการปกครองของอาณาจักรอัล-อุษมานียะฮฺ  (ออตโตมานเติร์ก)  มีการแยกสิ่งที่ถูกบ่งชี้  (มัดลูล)  ของคำว่าสุลฏอนกับสิ่งที่ถูกบ่งชี้  (มัดลูล)  ของคำว่าเคาะลีฟะฮฺ  โดยคำว่า  สุลฏอน  ( السلطان )  หมายถึง  ชื่อเรียกหรือฉายาฝ่ายการเมือง  (อัล-ละก็อบ  อัล-มะดะนียฺ)  ซึ่งมีอำนาจในการปกครองและอำนาจทางการทหาร

 

ส่วนคำว่า  เคาะลีฟะฮฺ  ( الخليفة )  หมายถึง  ชื่อเรียกหรือฉายาฝ่ายการศาสนา  (อัล-ละก็อบ  อัด-ดีนียฺ)  ซึ่งบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด  (อัล-วิลายะฮฺ  อัล-อุซมา)  เหนือประชาคมมุสลิมและรับผิดชอบกลุ่มมุสลิมส่วนน้อยในดินแดนของผู้ปฏิเสธ  (ดารุลกุฟร์)  มีอำนาจในการประกาศสงครามญิฮาดและพิทักษ์ดินแดนที่มีศักดิและสิทธิ  (อัล-มุกอดดะสาต)  ในดินแดนของมุสลิม

(อัด-เดาวฺละฮฺ  อัล-อุษมานียะฮฺ  เดาวฺละฮฺ  อิสลามียะฮฺ  มุฟตะรอ  อะลัยฮา  ;  ดร.อับดุลอะซีซฺ  อัช-ชินาวียฺ  1/66) 

 

และนี่คือคำตอบสำหรับคำถามในข้อเขียนของอาจารย์ที่ว่า  :  และหากมี  (ระบบผู้นำศาสนาถามว่า  เคยมีในยุคใดสมัยใดในประวัติศาสตร์อิสลาม

 

ประเด็นสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่ชื่อเรียกบุคคลว่าชื่ออะไร?  หากิมหรือจุฬาราชมนตรี  แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า  จุฬาราชมนตรีเป็นใครและมีสถานภาพเป็น  “วะลียุลอัมรฺ”  หรือไม่ต่างหาก  เช่นเดียวกับคำว่า  กอฎียฺคือหากิมใช่หรือไม่  และชื่อเรียก  โต๊ะกาลี, โต๊ะกอฎียฺ หรือดาโต๊ะยุติธรรม คือ กอฎียฺที่มีหน้าที่ตัดสินข้อพิพาท (หากิม)  ใช่หรือไม่?  และคำว่า  วะลียุลอัมร์  (ผู้รับผิดชอบกิจการศาสนาอิสลาม)  เทียบได้กับตำแหน่งจุฬาราชมนตรีหรือไม่?

 

ก่อนที่จะตอบคำถามนี้  ท่านอาจารย์เขียนว่า  :

ในตัฟสีรฺเล่มใดที่อธิบายว่า  “อุลิลอัมริมิงกุม”  หมายถึง  ผู้นำ  (ศาสนาเท่านั้นในรัฐที่ไม่ใช่อิสลาม

คำตอบ

1)  ท่านอะลี  อิบนุ  อบีฏอลหะฮฺกล่าวรายงานจากท่านอิบนุอับบาส  (ร.ฎ.)  ว่า  : وأولى الأمر منكم หมายถึง  บรรดานักวิชาการฟิกฮฺและนักปราชญ์ทางศาสนา  ( أهل الفقه والدين )  และเช่นนี้มุญาฮิดอะฏออฺ,อัลหะสัน  อัลบะเศาะรียฺ และอบุลอาลิยะฮฺ  กล่าวว่า وأولى الأمر منكم  หมายถึง  บรรดานักปราชญ์  ( العلماء )  และตามสิ่งที่ปรากฏชัด  วัลลอฮุอะอฺลัม  แท้จริงประโยคนี้ครอบคลุมในกรณีของอุลิลอัมรฺทั้งหมดจากบรรดาผู้นำ  ( الأمراء )  และบรรดานักปราชญ์  ( العلماء )  ดังที่กล่าวมาก่อนแล้ว” 

(ตัฟสีรฺ  อัลกุรอาน  อัลอะซีม ; อิบนุกะษีรฺ  เล่มที่   1  หน้า  518  สำนักพิมพ์อีซา  อัลบาบียฺ  อัลหะละบียฺ

 

คำอธิบาย  ( أولى الأمر منكم )  ว่าหมายถึง  “อะฮฺลุลฟิกฮฺ  วัดดีน”  คือ  นักปราชญ์ฟิกฮฺและศาสนา  แปลง่ายก็คือ  นักวิชาการศาสนาหรือผู้นำศาสนาที่มีความสันทัดในวิชาการฟิกฮฺและวิชาการศาสนาถึงแม้คำอธิบายในอีกรายงานหนึ่งจะระบุว่า  หมายถึง  อัลอุมะรออฺ  ก็ไม่ใช่ปัญหา  เพราะอิบนุกะษีรฺ  (..)  ระบุว่าอายะฮฺนี้ครอบคลุมทั้งนักปกครองและบรรดานักปราชญ์ทางศาสนาด้วย

 

2)  อิมามอัฏ-เฏาะบะรียฺ  (ร.ฮ.)  อธิบายประโยค  أولى الأمر منكم  ว่า  :  นักวิชาการบางคนกล่าวว่า  :  พวกเขาคือบรรดาผู้นำ  ( هم الأمراء )  และคนอื่นๆกล่าวว่า  หมายถึง  นักปราชญ์และนักวิชาการฟิกฮฺ  ( ِأَهلُ الْعِلْمِ وَالْفِقْه )  และอ้างรายงานจากมุญาฮิดว่า  หมายถึง  บรรดานักวิชาการฟิกฮฺจากพวกท่าน ( أولى الفقه منكم )  และอีกรายงานหนึ่งจากมุญาฮิด  ระบุว่า  ( أولى الفقه والعلم )  คือบรรดานักวิชาการฟิกฮฺและผู้รู้  และอ้างรายงานจากอิบนุ  อบีนะญีหฺ จากมุญาฮิดว่า  :  หมายถึง  นักวิชาการฟิกฮฺในด้านศาสนาและสติปัญญา  และจากอะลี  อิบนุ  อบีฏอลหะฮฺ  จากอิบนุ  อับบาส  (..)  ว่า  :  หมายถึง  อะฮฺลุลฟิกฮฺ  วัดดีน  (นักวิชาการฟิกฮฺและศาสนาและจากท่านอะฏออฺระบุว่า  หมายถึง  อัลฟุเกาะฮาอฺ  วัลอุละมาอฺ  เป็นต้น 

(ตัฟสีรฺ  อัฏเฏาะบะรียฺ  (ญามิอุลบะยาน  ฟี  ตะอฺวีล  อัลกุรอานเล่มที่  4  ดารฺ  อัลกุตุบ  อัลอิลมียะฮฺ  หน้า  150, 151, 152) 

 

คำอธิบาย  (ตัฟสีรฺประโยค  ( أولى الأمر منكم )  ในตัฟสีรฺ  อัฏเฏาะบะรียฺระบุชัดว่าหมายถึงบรรดาผู้รู้ทางศาสนา  (ฟุเกาะฮาอฺอุละมาอฺซึ่งเป็นผู้นำในด้านศาสนาขณะที่คำอธิบายที่ว่า  อัลอุมะรออฺ  มุ่งหมายถึงผู้นำที่มีอำนาจทางการเมืองและการปกครอง  บรรดาฟุเกาะฮาอฺหรืออุละมาอฺไม่มีอำนาจทางการเมืองการปกครองและไม่ใช่หากิมตามคำนิยามของท่านอาจารย์ครับ!

 

3) สัยยิด  ศิดดีก  หะสัน  ข่าน  อธิบายคำว่า  ( أولى الأمر منكم )  หมายถึง  “พวกเขาคือบรรดาอิมาม  (อะอิมมะฮฺบรรดาสุลฏอน  (สะลาฏีนบรรดาผู้พิพากษา  (อัลกุฎอฮฺบรรดาผู้นำที่ชอบธรรม  (อุมะรออฺ  อัลหักและบรรดาผู้ปกครองที่เที่ยงธรรม  (วุลาตุลอัดล์เช่น  บรรดาอัลคุละฟาอฺ  อัรรอชิดูนและผู้ที่ปฏิบัติตามพวกเขาจากบรรดาผู้ที่ได้รับทางนำ  และทุกคนที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามบัญญัติศาสนา  (วิลายะฮฺ  ชัรฺอียะฮฺมิใช่มีหน้าที่รับผิดชอบแบบฏอฆูต  (วิลายะฮฺ  ฏอฆูตียะฮฺ

 

และสัยยิดศิดดีก  หะสันข่าน  (..)  ก็ระบุรายงานจากญาบิรฺ  อิบนุ  อับดิลลาฮฺ  (..)  และมุญาฮิด  (..)  ว่า  :  แท้จริงอุลิลอัมริ  หมายถึง  อะฮฺลุลกุรอานวัลอิลม์  (ปราชญ์แห่งคัมภีร์อัลกุรอานและวิชาการและตามนี้อิมามมาลิก  (..)  และอัฎเฎาะหฺหาก  (..)  กล่าวเอาไว้  และถูกรายงานจากมุญาฮิด  ว่า  :  หมายถึง  บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) และอิบนุ  กัยสาน  กล่าวว่า  :  หมายถึง  อะฮฺลุลอักล์  วัรเราะอฺย์  (นักวิชาการผู้มีปัญญาและทัศนะ

 

และจากท่านอิบนุ  อับบาส  (..)  ว่า  หมายถึง  บรรดานักวิชาการฟิกฮฺและบรรดานักปราชญ์ที่สั่งสอนผู้คนให้รู้ถึงหลักคำสอนอันเป็นเครื่องหมายแห่งศาสนาของพวกเขาเป็นคำกล่าวของท่านอัลหะสัน ,  อัฎเฎาะหฺหากและมุญาฮิด  แต่ที่มีน้ำหนักคือคำกล่าวแรก เนื่องจากมีบรรดาหะดีษที่รายงานอย่างถูกต้องจากท่านรสูล  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)  ว่ามีคำสั่งให้เชื่อฟังบรรดาอิมามและบรรดานักปกครองที่รับผิดชอบในสิ่งที่เป็นไปเพื่อพระองค์อัลลอฮฺและบรรดามุสลิมที่ว่าด้วยสิทธิประโยชน์  (มัศละหะฮฺ)…” 

(ฟัตหุลบะยาน  ฟี  มะกอศิด  อัลกุรอาน  ;  ศิดดีก  หะสัน  ข่าน  เล่มที่  3  หน้า  155  อัลมักตะบะฮฺ  อัลอัศรียะฮฺ

 

คำอธิบายของศิดดีก  หะสัน  ข่าน ได้ให้น้ำหนักในคำกล่าวแรกซึ่งเป็นคำอธิบายของท่านโดยครอบคลุมถึงบุคลคลทุกคนที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามหลักการของศาสนา  (วิลายะฮฺ  ชัรฺอียะฮฺแต่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือมีคำอธิบายที่ว่า  อุลิลอัมรฺมิงกุม  หมายถึง  นักวิชาการทางศาสนาหรือผู้นำทางศาสนาซึ่งไม่ได้มีอำนาจในการปกครองรัฐ  ไม่มีอำนาจในการลงโทษอย่างที่อาจารย์กำหนดไว้ในนิยามของท่าน  และคำว่า  “วิลยะฮฺ  ชัรฺอียะฮฺ”  ก็มีนัยครอบคลุมและรวมทั้งผู้มีอำนาจในการลงโทษ  เช่น  วาลียฺ  ( الواليอันหมายถึงผู้ปกครอง  และวะลียฺ  ( الولي )  ซึ่งหมายถึงผู้ปกครองเช่นกันแต่อาจจะไม่มีอำนาจในการลงโทษ  เช่น  วะลียฺในการสมรส  (วะลียุนนิกาหฺญาติใกล้ชิดของผู้เสียชีวิต  และผู้ปกครองทรัพย์ของเด็กกำพร้า  เป็นต้น

 

4)  อิมาม  อัลกุรฏุบียฺ  (..)  ระบุคำกล่าวของท่านญาบิรฺ  อิบนุ  อับดิลลาฮฺ  (..)  และมุญาฮีด  ว่า  :  อุลุลอัมริ  หมายถึง  อะฮฺลุลกุรฺอาน  วัลอิลม์  และอิมามมาลิก  (..)  เลือกคำอธิบายนี้  และระบุคำกล่าวของอัฏเฏาะหากว่า  :  หมายถึง  อัลฟุเกาะฮาอฺ  วัลอุละมาอฺ  ฟิดดีน  (นักวิชาการฟิกฮฺและบรรดานักปราชญ์ในศาสนา)  (ตัฟสีรฺ  อัลกุรฏุบียฺ  เล่มที่  2  หน้า  1829  ดารุชชะอฺบ์)

 

5)  ตัฟสีรฺ  อัดดุรฺรุลมันษูรฺ  ฟี  อัตตัฟสีรฺ  อัลมะอฺษูรฺ  ;  อิมามอัสสุยูฏียฺ  เล่มที่หน้า  575  ระบุรายงานหลายกระแสว่า  ( وأولى الأمر منكم )  หมายถึง  บรรดานักวิชาการฟิกฮฺและบรรดานักปราชญ์ที่เป็นผู้รู้ทางศาสนา

 

6) ตัฟสีรฺ  อัยสะรุตตะฟาสีรฺ  ;  อบูบักร  ญาบิร  อัลญะซาอิรียฺ  เล่มที่  1  หน้า  496  ระบุว่าหมายถึงบรรดาผู้นำ (อุมะรออฺและบรรดานักปราชญ์จากชาวมุสลิมและระบุในหน้า  498  เล่มเดียวกันว่า “ 3-  จำเป็นที่จะต้องเชื่อฟัง  (ฏออะฮฺต่ออัลลอฮฺและเชื่อฟังท่านรสูล  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)  และบรรดาผู้มีหน้าที่รับผิดชอบของชาวมุสลิมจากบรรดาผู้ปกครอง  (หุกกามและบรรดานักปราชญ์นักวิชาการฟิกฮฺ  (อุละมาอฺฟุเกาะฮาอฺ)…” 

 

คำอธิบายนี้แยกชัดเจนระหว่างบรรดาผู้เป็นหากิมคือนักปกครองกับบรรดานักวิชาการศาสนาซึ่งเรียกกันว่า  บรรดาผู้นำทางศาสนาโดยจารีตในภาษาไทย  เมื่อกล่าวถึงกลุ่มผู้นำทางศาสนาอิสลามก็จะหมายถึงบรรดานักวิชาการโต๊ะครูปอเนาะ  (บาบอซึ่งชำนาญวิชาฟิกฮฺและศาสตร์แขนงต่างตลอดจนอิมาม  คอเต็บ  บิหลั่น  เป็นต้น  และเมื่อกล่าวถึงผู้นำสูงสุดฝ่ายศาสนาอิสลามในประเทศไทยก็จะหมายถึง  จุฬาราชมนตรี 

 

หากอาจารย์ค้านว่าจุฬาราชมนตรีซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัย  (ฟัตวาโดยมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาไม่เข้าอยู่ในคำจำกัดความของอุลิลอัมริมิงกุม  ข้าพเจ้าก็ขอยกตัฟสีรฺอีกสัก  1  เล่มเพื่อชี้ว่า  ผู้มีหน้าที่วินิจฉัยปัญหาศาสนาหรือมุฟตียฺ  เข้าอยู่ในคำจำกัดความนี้หรือไม่!  ในตัฟสีรฺ  ตัยสีรฺ  อัลกะรีม  อัรฺเราะหฺมาน  ฟี  ตัฟสีรฺ  กะลามิลมันนาน  ของอิมามอัลลามะฮฺ  อับดุรเราะหฺมาน  อิบนุ  นาศิรฺ  อัสสะอฺดียฺ  อธิบายว่า  :  และพวกเขาคือ  บรรดาผู้รับผิดชอบต่อผู้คนจากบรรดาผู้นำ  (อัลอุมะรออฺบรรดาผู้ปกครอง  (อัลหุกกามและบรรดาผู้วินิจฉัยปัญหาศาสนา  (อัลมุฟตีน) …”  หน้า 173  สำนักพิมพ์ดารุลหะดีษ  กรุงไคโร  ปีพิมพ์ ค..2005 

 

บรรดาผู้วินิจฉัยและตอบปัญหาศาสนา  (มุฟตียฺจะเป็นผู้นำศาสนาหรือไม่คงไม่สำคัญไปกว่าประเด็นที่ว่า  มีคำอธิบาย  (ตัฟสีรฺประโยค  (أولى الأمر منكم)  ว่า หมายรวมถึงผู้ทำหน้าที่ออกคำฟัตวาที่เรียกว่า  มุฟตียฺด้วยเช่นกัน  และหน้าที่นี้เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของท่านจุฬาราชมนตรี  และมุฟตียฺโดยปกติเป็นเพียงผู้รู้ทางศาสนา  มิใช่ผู้ปกครองหรือผู้มีอำนาจทางการเมือง  แม้คำฟัตวาก็ไม่มีผลบังคับแก่ผู้ขอคำวินิจฉัย  ต่างจากกรณีการตัดสินพิพากษาของผู้เป็นกอฎียฺที่มีผลบังคับแก่คู่กรณี 

(อัลอัฏวาอฺ  ;  ดร.อับดุลกอดิรฺ  หน้า  352) 

 

ดังนั้นจึงไม่แปลกถ้าหากจุฬาราชมนตรีได้ออกคำวินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหาศาสนาแล้วไม่มีผลบังคับเพราะเป็นฟัตวามิใช่เกาะฎออฺ  กระนั้นคำอธิบายในตัฟสีรฺอัสสะอฺดียฺก็รวมเอามุฟตียฺเข้าไปอยู่ในความหมายของอุลุลอัมร์  ที่จำเป็นต้องฏออะฮฺเชื่อฟังเช่นเดียวกับบรรดาผู้นำสูงสุดและบรรดานักปกครอง  ท่านอาจารย์อาจจะค้านว่าในเมื่อคำฟัตวาของจุฬาราชมนตรีไม่มีผลบังคับแล้วทำไมจึงบอกว่าจำเป็นต้องฏออะฮฺเชื่อฟัง  ก็ตอบได้ว่า  ตัวของคำฟัตวาเป็นการบอกให้ทราบถึงหลักการของศาสนา  มิใช่เป็นคำพิพากษา  ดังนั้นคำฟัตวาจึงไม่มีผลบังคับด้วยตัวของมันเอง  แต่ที่จำเป็นต้องเชื่อฟังผู้ออกคำฟัตวา  (มุฟตียฺนั่นเป็นกรณีของสถานภาพบุคคลที่เรียกว่า  “วะลียุลอัมรฺ”  ซึ่งมีหลักฐานจากอัลกุรอานและอัลหะดีษมายืนยันรับรองว่า  ผู้มีสถานภาพดังกล่าว  (คือตัวบุคคลเป็นผู้ที่จำต้องได้รับการเชื่อฟัง  จึงต้องแยกระหว่างลักษณะของคำฟัตวากับบุคคลผู้มีหน้าที่ออกคำฟัตวาคือมุฟตียฺในเรื่องนี้  วัลลอฮุอะอฺลัม 

 

สำหรับข้อเขียนในเชิงคำถามของอาจารย์ที่ว่า

ในตัฟสีรฺเล่มใดที่อธิบายว่า  “อูลิ้ลอัมริมิงกุม”  หมายถึง  ผู้นำ  (ศาสนาเท่านั้นในรัฐที่มิใช่อิสลาม  ประเทศไทยเป็นรัฐอิสลามหรือรัฐกุฟรฺ  ข้อบัญญัติแตกต่างกันหรือไม่…” 

เราได้ให้คำตอบไปแล้วว่า

มีตำราตัฟสีรฺหลายเล่มที่อธิบายว่า  อูลิ้ลอัมริมิงกุม”  หมายถึง  บรรดาผู้รู้หรือนักวิชาการด้านศาสนานอกเหนือจากบรรดาผู้นำรัฐและบรรดาผู้ปกครองที่เป็นชาวมุสลิมและโดยจารีต  (อัลอาดะฮฺในบ้านเราถือว่าบรรดาผู้นำศาสนาก็คือผู้รู้หรือผู้เป็นนักวิชาการด้านศาสนาและผู้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีนับตั้งแต่ท่านจุฬาราชมนตรีแช่ม  พรหมยงค์ (..)  จนถึงท่านจุฬาราชมนตรีในปัจจุบันต่างก็เป็นผู้รู้ทางศาสนาทั้งสิ้น 

 

เราไม่ได้พูดถึงบรรดาขุนนางที่มีราชทินนาม  ออกญาจุฬาราชมนตรีที่กรมท่าขวาหรือแม่กองแขกตามทำเนียบศักดินาและพระไอยการที่มีมาแต่ครั้งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  ถึงแม้ว่าราชทินนามดังกล่าวจะเป็นที่มาของผู้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีในภายหลังก็ตาม  เพราะเป็นเรื่องที่ต่างกรรมต่างวาระและต่างบริบทตลอดจนสถานภาพของบุคคลที่มีดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีก็เปลี่ยนไปแล้วภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในสยามประเทศซึ่งจุฬาราชมนตรีที่เป็นมุสลิมอะหฺลิสสุนนะฮฺ  วัลญะมาอะฮฺ มีสถานภาพเป็นผู้นำฝ่ายกิจการศาสนาอิสลามกินระยะเวลาร่วม  70  ปี  ซึ่งไม่นับรวมช่วงเวลาของขุนนางมุสลิมที่มีราชทินนาม  ออกพระจุฬาราชมนตรีหรือพระยาจุฬาราชมนตรีหรือพระจุฬาราชมนตรี  ที่กินตำแหน่ง  “แม่กองแขก”  คือ  ควบคุมดูแลและปกครองแขกทั้งปวงนับแต่สมัยอยุธยาที่ย้อนเวลากลับไปในอดีตอีกหลายร้อยปี 

 

ความเป็นผู้นำของประชาคมมุสลิมสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีจึงผ่านช่วงเวลาที่ยาวนานหลายศตวรรษในประวัติศาสตร์ของสยามประเทศ  เรียกได้ว่า  กลายเป็นธรรมเนียมและจารีตที่รู้กันว่า  จุฬาราชมนตรี  คือผู้นำประชาคมมุสลิมนับแต่สมัยอยุธยาและเป็นผู้นำศาสนาคือผู้รู้ในศาสนาอิสลามฝ่ายอะฮฺลิสสุนนะฮฺ  วัลญะมาอะฮฺตลอดระยะเวลาร่วม 70  ปีในสมัยรัตนโกสินทร์  เมื่อจารีตเป็นตัวกำหนดบรรทัดฐานในเรื่องมุอามะละฮฺอันเกี่ยวเนื่องกับการใช้ภาษา  คำว่า  จุฬาราชมนตรี  จึงมีความหมายที่รับรู้กัน  (มัชฮูรฺว่า  หมายถึง  ผู้นำประชาคมมุสลิมหรือผู้นำสูงสุดฝ่ายกิจการศาสนาอิสลามหรือผู้นำศาสนาอิสลามที่มีอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะในประเทศไทย 

 

เรื่องนี้จึงอยู่ในกรอบของหลักนิติศาสตร์อิสลาม  (กออิดะฮฺ  ฟิกฮียะฮฺที่ว่า : ( اَلْعَادَةُ مُحَكَّمَة ) จารีตนั้นย่อมถูกนำมาตัดสินใด”  หมายความว่า  จารีต  (อาดะฮฺไม่ว่าจะเป็นจารีตโดยรวม  (อามมะฮฺหรือจารีตโดยเฉพาะ  (คอศเศาะฮฺจะถูกกำหนดให้เป็นผู้ชี้ขาดเพื่อการยืนยันข้อชี้ขาด  (หุกม์ตามบัญญัติของศาสนา  (ชัรฺอียฺที่ไม่มีตัวบทใดๆมากำหนดถึงสิ่งที่ขัดแย้งกับข้อชี้ขาดนั้นเป็นการเฉพาะ  ดังนั้นหากไม่มีตัวบทใดๆที่ขัดแย้งกับจารีตถูกระบุมานับแต่ต้น  หรือมีการระบุแต่เป็นตัวบทกว้างๆจารีตนั้นก็ย่อมถูกพิจารณาและเรียกจารีต  (อาดะฮฺทีมีการดำเนินสืบเนื่องบนสิ่งนั้นๆที่ถูกยอมรับสำหรับสันดานอันเป็นปกติและมีการหวนกลับไปยังสิ่งนั้นครั้งแล้วครั้งเล่าว่า  :  “จารีตโดยพฤตินัย”  (อัลอุรฺฟุล  อะมะลียฺ

(ดูชัรฺหุล  เกาะวาอิด  อัลฟิกฮียะฮฺ  ;  ชัยคฺ  อะหฺมัด  อิบนุ  ชัยคฺมุฮัมมัด  อัซซัรฺกอ  พิมพ์ครั้งที่  2  (1989)  ดารุลเกาะลัม  (ดามัสกัสหน้า  219) 

 

และจารีตโดยพฤตินัยที่จะถูกพิจารณาในการยืนยันถึงข้อชี้ขาดทางศาสนา  (อัลหุกม์  อัชชัรฺอียฺจะต้องไม่ค้านหรือแตกต่างจากสิ่งที่ศาสนิกชน  (อะฮฺลุดดีนที่มีสติปัญญาอันเที่ยงตรง  (เป็นปกติและไม่ใช่สิ่งที่ไม่คุ้นเคย  (มุงกัรฺหรือเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักการของศาสนาในมุมมองของพวกเขา  (อ้างแล้ว  หน้าเดียวกัน

 

ถามว่า  ผู้คนในสยามประเทศยอมรับและถือกันนับแต่อดีตว่าผู้ใดคือผู้นำศาสนาและเป็นผู้นำสูงสุดของประชาคมมุสลิม  และการยอมรับนั้นเป็นความสืบเนื่องยาวนานและไม่ใช่สิ่งที่ค้านกับตัวบทของศาสนา  ใครคือบุคคลที่ว่านั้นคำตอบก็คือ  จุฬาราชมนตรี  มิใช่ตัวข้าพเจ้าและมิใช่อาจารย์อย่างแน่นอน  และนีคือคำตอบสำหรับข้อเขียนของอาจารย์ที่ว่า 

 

“…หากผมประกาศว่า  ผมคือผู้นำของประเทศไทย  ผมพูดได้หรือไม่  พูดได้  แต่ข้อเท็จจริงเป็นหรือไม่  ตอบว่าไม่  ดังนั้นปัญหามันคือใครคือผู้นำ  เข้าใจหรือยัง” 

 

คำตอบก็คือ  คำประกาศของอาจารย์มีอะไรรองรับหรือไม่  พูดน่ะพูดได้  แต่โดยจารีต  กฎหมาย  และหลักการของศาสนาในเรื่องสถานภาพของผู้นำ  มีข้อใดบ้างที่มารองรับการเป็นผู้นำของอาจารย์  เพราะอาจารย์มิใช่ผู้นำของประชาคมมุสลิม  และอาจารย์ก็ไม่ยอมรับในสิ่งที่ประชาคมมุสลิมยอมรับโดยพฤตินัยนั่นแหล่ะคือปัญหาของอาจารย์เอง  ประชาคมมุสลิมโดยส่วนใหญ่เขารู้กันโดยเป็นปกติแล้วว่า  ผู้นำของพวกเขาคือ  จุฬาราชมนตรี  แต่คนที่ยังไม่รู้ในข้อนี้ก็คือตัวอาจารย์เองอาจารย์เข้าใจหรือยังล่ะว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ท่านจุฬาราชมนตรีและประชาคมมุสลิมโดยส่วนใหญ่แต่ปัญหาอยู่ที่ความเข้าใจของอาจารย์เองต่างหาก 

 

ความรู้คือทางสว่างในการตัดสินใจ”  มีคนบังคับให้ตาม  “จุฬา”  ผมถามว่าจุฬาคือใคร  มีคนตอบว่า  “คือผู้นำ”  ผมถามว่า  “ผู้นำอะไร”  เพราะในศาสนาเรามีผู้นำหลายประเภท  หลายระดับ  การพูดโดยรวมมันสะท้อนให้เห็นความไม่ลุ่มลึก  ไม่ละเอียด  หากเรายังไม่ทราบเลยว่าต้องตามอย่างไร  ตามหรือไม่  หรือว่าไม่ต้องตามแล้วจะรีบร้อนตามไปทำไม

 

แน่นอน  ความรู้คือทางสว่างในการตัดสินใจ  และคนที่รู้ว่าใครคือผู้นำของตนก็ย่อมอยู่ในทางสว่างและตัดสินใจได้ตามสิ่งที่ตนรู้  ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะมีคนตอบคำถาม  “จุฬาคือใคร”  ว่าคือผู้นำ  และไม่สำคัญเลยที่ว่าเมื่อยอมรับว่าผู้นั้นเป็นผู้นำที่ควรตามโดยรู้ว่าการตามนั้นไม่ผิดต่อหลักการของศาสนา  คนที่ถูกยอมรับว่าเป็นผู้นำจะอยู่ในประเภทใด  ระดับใดก็คงต้องตาม  เพราะตัวบทหลักฐานพูดกว้างๆถึงการฏออะฮฺเชื่อฟังต่อผู้นำ  และคำอธิบายของนักวิชาการก็ระบุชัดเจนว่า  บุคคลที่เป็นผู้ปกครอง,  อิมามนำละหมาด,  เจ้าหน้าที่เก็บซะกาต, บรรดาผู้รู้และนักปราชญ์, แม่ทัพผู้คณะเดินทาง,  บิดามารดา,  ครูบาอาจารย์,  สามีและบุคคลที่มีหน้าที่ออกคำฟัตวา  (มุฟตียฺ)  ล้วนเป็นบุคคลที่อยู่ภายใต้คำจำกัดความว่า  “อูลิล  อัมร์”  ซึ่งจำต้องฏออัตและเชื่อฟัง

 

ส่วนรายละเอียดว่าด้วยประเภทหรือระดับมิใช่ข้ออ้างที่จะนำมาค้านว่า  ไม่ต้องฏออะฮฺเชื่อฟัง  เพราะนั่นเป็นเรื่องของเนื้อหาทางวิชาการ  และในขณะที่เราเชื่อว่าบุคคลมีสถานภาพที่ศาสนากำหนดให้เชื่อฟังและปฏิบัติตามก็ไม่จำเป็นว่าเราจะต้องรู้ถึงรายละเอียดและเนื้อหาทางวิชาการ  ดังกรณีที่เราละหมาดตามหลังอิมามเมื่อเราเชื่อว่าผู้เป็นอิมามมีความเหมาะสมในการทำหน้าที่นำละหมาดและการละหมาดตามของเราใช้ได้ตามหลักศาสนา  เราก็สามารถตามอิมามผู้นั้นในการละหมาดได้  ไม่ใช่ว่าเราจะต้องรู้รายละเอียดและเนื้อหาทางวิชาการเกี่ยวกับเรื่องนี้เสียก่อนถึงจะตามได้  ศาสนาไม่ได้คาดคั้นเอาโดยเคร่งครัดถึงเพียงนั้น

 

ท่านอัล-ลามะฮฺ  อิบนุ  อบิลอิซฺ  อัล-หะนะฟียฺ  อธิบายว่า  :  แท้จริงเป็นที่อนุญาตสำหรับบุคคลในการที่บุคคลนั้นจะละหมาดข้างหลังอิมามที่เขาผู้นั้นไม่รู้ว่าอิมามมีการกระทำอุตริกรรมและการฝ่าฝืนโดยการเห็นพ้องของบรรดาอะอิมมะฮฺ  และไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งจากเงื่อนไขในการตามอิมามว่า  มะอฺมูมจำต้องรู้ถึงอิอฺติกอดของอิมามที่นำเขาละหมาดและไม่มีเงื่อนไขว่ามะอฺมูมจะต้องทดสอบอิมามเสียก่อนโดยถามว่า  ท่านมีอิอฺติกอดอะไร?  ทว่าบุคคลผู้นั้นสามารถละหมาดตามหลังบุคคลที่ไม่รู้ถึงสถานภาพของเขาได้  (มัสตูรุลหาล)…”

(ชัรหุลอะกีดะฮฺ  อัฏ-เฏาะหาวียะฮฺ  1/374) 

 

ดังนั้นคนที่เขาเชื่อว่าจุฬาราชมนตรีคือผู้นำที่เขาต้องฏออะฮฺเชื่อฟัง  จะไปกล่าวหาว่าเขาไม่ลุ่มลึก  ไม่ละเอียดอย่างอาจารย์ก็คงไม่ได้  และเขาผู้นั้นก็ทราบเป็นอย่างดีว่าจะตามท่านจุฬาราชมนตรีอย่างไร?  เพราะบรรดานักวิชาการในบ้านเราทั้งที่ยอมรับและไม่ยอมรับการเป็นผู้นำของจุฬาราชมนตรีล้วนแต่อธิบายกันอยู่เนืองๆ ว่า  ผู้นำนั้นเราจะตามอย่างไร?  และคนที่ตามจุฬาราชมนตรีก็ไม่มีความลังเลว่าจะตามหรือไม่ก็ตาม  เพราะเมื่อเขายอมรับว่าจุฬาราชมนตรีคือผู้นำ  เขาก็ย่อมตามจุฬาราชมนตรีอยู่แล้ว  คนที่ไม่ยอมรับต่างหากที่ยังสับสนว่าจะตามหรือไม่ต้องตาม  ท้ายที่สุดก็เลยไม่ตามเพราะถูกกรอกหูว่า  จุฬาราชมนตรีมิใช่ผู้นำตามหลักการของศาสนา

 

และเรื่องนี้คนที่ตามก็ไม่ได้รีบร้อนแต่เป็นที่ร้อนใจเสียมากกว่าว่า  เมื่อการมีผู้นำสำหรับประชาคมมุสลิมไม่ว่าจะอยู่ในประเทศมุสลิมหรือไม่ใช่ก็ตามเป็นฟัรฎูกิฟายะฮฺ  หากละเลยเรื่องฟัรฎูกิฟายะฮฺก็จะกลายเป็นบาปสำหรับประชาคมมุสลิมโดยรวม  พวกเขาจึงดำรงภารกิจที่วาด้วยฟัรฎูกิฟายะฮฺนี้ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องดีและถูกต้อง  แต่กลับกลายเป็นว่า  มีคนบางกลุ่มกำลังพูดหรือเขียนในทำนองที่ว่า  ประชาคมมุสลิมไม่มีผู้นำ  และที่เชื่อกันว่าเป็นผู้นำนั้นไม่ใช่ผู้นำ  นี่แหล่ะคือสิ่งที่น่าร้อนใจเพราะถ้าเป็นเช่นที่กล่าวอ้างมานั้นก็แสดงว่าประชาคมมุสลิมมีสภาพไม่ต่างอะไรกับผู้คนในยุคญาฮิลียะฮฺ

 

ซึ่งมีอัล-หะดีษและคำอธิบายของนักวิชาการระบุว่า  :

مَنْ مات ولَيْسَ في عُنُقِهِ بَيْعَةٌ مَاتَ مِيْتَةً جَاهِلِيَّة

“ผู้ใดเสียชีวิตลงโดยไม่มีการสัตยาบันในต้นคอของเขา  ผู้นั้นเสียชีวิตลงเยี่ยงการเสียชีวิตในยุคญาฮิลิยะฮฺ”  (บันทึกโดยมุสลิม  :  1851)

 

คำว่า  :  “ไม่มีการสัตยาบันในต้นคอของเขา”  หมายถึงไม่เคยให้สัตยาบัน  ( لم يُبَايِعْ )  คือการยอมรับถึงการเป็นผู้นำของผู้ที่ถูกให้สัตยาบัน  ซึ่งมีการทำสัตยาบันให้แก่ท่านจุฬาราชมนตรีโดยบรรดาคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศอย่างที่รู้กัน  และคำว่า  “เสียชีวิตแบบญาฮิลียะฮฺ  หมายถึง  เหมือนการเสียชีวิตของผู้คนในยุคญาฮิลียะฮฺบนความหลงผิด  โดยที่พวกเขาเคยที่จะไม่เข้าสู่ภายใต้การเชื่อฟังผู้นำ  และมองว่าสิ่งดังกล่าว  (คือการเข้าสู่การเชื่อฟังผู้นำ)  เป็นข้อตำหนิ

(นุซฮะตุล  มุตตะกีน  ชัรฺหุ  ริยาฎิศศอลิหีน  ;  ดร.มุศเฏาะฟา  สะอีด  อัลคิน และคณะ  ;  สำนักพิมพ์  มุอัสสะสะฮฺ  อัรฺริสาละฮฺ  (2004)  เบรุต  หน้า  287)

 

สำหรับคำถามของอาจารย์ในข้อเขียนที่ว่า :

ประเทศไทยเป็นรัฐอิสลามหรือรัฐกุฟร์  ข้อบัญญัติแตกต่างกันหรือไม่” 

หากอาจารย์มุ่งหมายถึงข้อบัญญัติของนักวิชาการเกี่ยวกับระบอบรัฐศาสตร์อิสลาม  ก็ตอบได้ว่า  รัฐอิสลามกับรัฐกุฟร์  แตกต่างกันอยู่แล้วโดยโครงสร้างและลักษณะการปกครอง  แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า  ประชาคมมุสลิมที่เป็นชนส่วนน้อยในรัฐกุฟร์ไม่ต้องตามผู้นำที่เป็นมุสลิมของพวกเขา  เพราะเรื่องการฏออะฮฺเชื่อฟังต่อผู้นำเป็นเรื่องจำเป็นทางศาสนา  (อัล-วาญิบาตฺ  อัด-ดีนียะฮฺ)  อยู่ในหมวดเดียวกันกับหลักการที่ว่าด้วยการปฏิบัติตามสิ่งที่ศาสนาใช้  ( المأمُورات )  และสิ่งที่ศาสนาห้าม  ( المنْهِيَّات )  สิ่งใดที่ศาสนามีบัญญัติสั่งใช้  มุสลิมก็จำต้องปฏิบัติเท่าที่มีความสามารถ  ไม่ว่ามุสลิมผู้นั้นจะอยู่ในดินแดนใดหรือรัฐใดก็ตาม  และสิ่งใดที่ศาสนาบัญญัติห้ามมิให้กระทำ  มุสลิมก็จำต้องหลีกห่างจากสิ่งนั้นโดยสิ้นเชิง  (ยกเว้นในกรณีเฎาะรูเราะฮฺเท่านั้น)  ไม่ว่ามุสลิมผู้นั้นจะอยู่ในดินแดนใดหรือรัฐใดก็ตาม

 

และการที่มีประชาคมมุสลิมปรากฏเป็นกลุ่มชน  (อัล-ญะมาอะฮฺ)  อยู่ในดินแดนของรัฐกุฟร์ก็ไม่ได้หมายความว่า  ประชาคมมุสลิมนั้นไม่ต้องมีผู้นำของพวกเขา  เพราะในหลักปฏิบัติศาสนกิจ  (อิบาดะฮฺ)  ของชาวมุสลิมและเรื่องมุอามะละฮฺมีประเด็นมากมายที่เกี่ยวข้องกับการมีผู้นำหรือบุคคลที่ต้องรับผิดชอบการกิจของพวกเขา  เช่นการละหมาดญะมาอะฮฺ  การละหมาดวันศุกร์และวันอีดทั้งสอง  การตัดสินเรื่องกฎหมายมรดกและครอบครัว  ตลอดจนการสั่งใช้ให้กระทำความดีและห้ามปรามจากความชั่ว  การดำรงไว้ซึ่งหลักคำสอนของอิสลามและการเผยแผ่เรียกร้องเชิญชวนสู่ศาสนาอิสลาม  เป็นต้น

 

การปฏิบัติตามหลักการของศาสนาอิสลามทั้งในส่วนที่เป็นฟัรฺฎุอัยนฺ  และฟัรฎูกิฟายะฮฺสำหรับมุสลิมทั้งในส่วนของปัจเจกบุคคลและหมู่คณะ  (อัล-ญะมาอะฮฺ)  จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับดินแดนหรือรัฐที่พวกเขาตั้งถิ่นฐานและเป็นพลเมืองว่าเป็นดินแดนดารุลอิสลาม  หรือดารุลหัรฺบ์  เพราะการปฏิบัติตามหลักการของศาสนาเป็นเรื่องที่เด็ดขาด  ชัดเจนด้วยตัวบททั้งจากกิตาบุลลอฮฺและสุนนะฮฺ  มุสลิมจำต้องปฏิบัติตามเท่าที่มีความสามารถ  ส่วนการแบ่งประเภทของดินแดนออกเป็นดารุลอิสลาม  และดารุลหัรฺบ์และผลที่เกิดจากการแบ่งประเภทดังกล่าวเป็นเรื่องของการอิจญ์ติฮาดซึ่งไม่มีตัวบทที่ชัดเจนเด็ดขาดในเรื่องนี้

 

แต่ถ้าจะตอบคำถาม  ก็ย่อมตอบได้ว่า  “โลก“  หรือ  “ดินแดน”  ตามมุมมองของนักวิชาการในศาสนาอิสลามกรณีพิจารณาถึงการบังคับใช้หลักนิติศาสตร์อิสลามและไม่มีการบังคับใช้  ตลอดจนพิจารณาถึงความปลอดภัยและความหวาดกลัวของชาวมุสลิมจะแบ่งออกเป็น  2  ประเภทคือ

 

1) ดินแดนแห่งความปลอดภัยและมีสันติสุขสำหรับชาวมุสลิม  เรียกว่า  ดารุลอิสลาม  ทุกดินแดนที่มีอำนาจสำหรับมุสลิมในดินแดนนั้นย่อมเข้าอยู่ในดารุลอิสลาม  ไม่ว่ามุสลิมในดินแดนนั้นจะเป็นชนส่วนใหญ่หรือเป็นชนกลุ่มน้อยก็ตาม  และทุกดินแดนที่เข้าอยู่ภายใต้พันธสัญญาของมุสลิม  (ซิมมะฮฺและพลเมืองของดินแดนนั้นปฏิบัติตามหลักชี้ขาดของอิสลามก็เข้าอยู่ในดารุลอิสลาม  ถึงแม้ว่าดินแดนนั้นจะไม่มีมุสลิมอยู่เลยก็ตาม  และทุกสถานที่ซึ่งชาวมุสลิมตั้งถิ่นฐานอยู่ในสถานที่นั้นๆโดยสามารถแสดงออกถึงหลักชี้ขาดของอิสลามและไม่มีผู้ใดมาห้ามชาวมุสลิมจากสิ่งดังกล่าวก็เข้าอยู่ในดารุลอิสลาม 

(ดูอัตตัชรีอฺ  อัลญินาอียฺ  ฟิลอิสลาม  เล่มที่ 1/291, 295)

 

2) ดารุลหัรฺบ  คือดินแดนอื่นที่มิใช่ดารุลอิสลามและเป็นดินแดนแห่งความหวาดกลัวและการเป็นศัตรูกับชาวมุสลิม  และถือว่าดินแดนอิสลามที่มีรัฐบาลปกครองแตกต่างกันเป็นดินแดนเดียวกัน  เพราะดินแดนอิสลามถูกปกครองด้วยกฎหมายเดียวกันนั่นคือ  หลักนิติธรรมอิสลาม  (อัชชะรีอะฮฺ  อัลอิสลามียะฮฺ

(อ้างแล้ว  เล่มและหน้าเดียวกัน)

 

ถึงแม้ว่าคำนิยามดารุลอิสลามและดารุลหัรบ์หรือดารุลกุฟริจะมีหลากหลายตามที่นักวิชาการกำหนดเอาไว้ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมาก  และข้าพเจ้าก็เห็นว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะที่มีข้อมูลมากและมิใช่สาระสำคัญที่เรากำลังพูดถึงคือเรื่องผู้นำ  เพราะถ้าลงรายละเอียดในเรื่องประเภทของดินแดนทั้ง  2  ประเภทบทความนี้จะกลายเป็นเรื่องของการเขียนวิเคราะห์เกี่ยวกับดินแดนตามรัฐศาสตร์อิสลามไปเสีย  เพราะลำพังประเภทของดินแดนอิสลามที่พิจารณาว่ามีการดำรงไว้ซึ่งศาสนาของอัลลอฮฺและการภักดีต่อพระองค์ก็แบ่งออกเป็น 5 ประเภท  คือ  ดารุลอัดลิ,  ดารุลบัฆฺยิ,  ดารุลบิดอะฮฺ,  ดารุรฺริดดะฮฺ  และอัด-ดารฺ  อัล-มัสลูบะฮฺ  ส่วนดารุลหัรบ์เมื่อพิจารณาถึงพันธสัญญาและข้อตกลงก็ยังแบ่งประเภทได้อีกอย่างน้อย  2  ประเภท

(อัล-อิสลาม  ;  สะอีด  เหาวียฺ 2/160) 

 

กระนั้นเราก็จะเห็นว่า  ข้อเขียนในหนังสือ “อัต-ตัชรีอฺ  อัล-ญินาอียฺ  ฟิลอิสลาม”  พิจารณาสภาพการณ์ของประชาคมมุสลิมที่ว่าด้วยความปลอดภัยและความสงบสุขตลอดจนการแสดงออกซึ่งสัญลักษณ์ของศาสนาและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตตามหลักการของศาสนาว่าเป็นสาระสำคัญในการแบ่งประเภทของดินแดนว่าเป็นดารุลหัรบ์หรือดารุลอิสลามซึ่งสอดคล้องกับข้อเขียนในหนังสือ  “บะยานุน  ลินนาส  มินัล  อัซฮัรฺ  อัช-ชะรีฟ”  เล่มที่  1  หน้า  248  ระบุว่า  :  แท้จริงการแบ่งดินแดนออกเป็นดารุลกุฟร์และดารุลอิสลาม  เป็นเรื่องของการอิจญ์ติฮาดอันเกิดจากสภาวการณ์ที่มีในสมัยของบรรดาอิมามมุจญ์ตะฮิด  และไม่มีตัวบทใดๆ ในเรื่องนี้จากอัล-กุรอานและสุนนะฮฺ

 

บรรดานักวิชาการผู้สันทัดกรณีกล่าวว่า : แท้จริงขอบเขตในการชี้ขาดดินแดนหนึ่งว่าเป็นดินแดนอิสลามหรือเป็นดินแดนสงคราม  (ดารุลหัรฺบ์)  คือ  ความปลอดภัยที่มีต่อศาสนาเป็นหลัก  กระทั่งว่าหากมุสลิมใช้ชีวิตอยู่ในดินแดนหนึ่งที่ดินแดนนั้นไม่มีศาสนาใดๆเลยหรือศาสนาของดินแดนนั้นไม่ใช่ศาสนาอิสลาม  และมุสลิมผู้นั้นก็สามารถประกอบศาสนกิจอันเป็นเครื่องหมายของศาสนาอิสลามได้โดยเสรี  ดินแดนนั้นก็คือดินแดนอิสลาม  ในความหมายที่ว่าไม่จำเป็นเหนือมุสลิมผู้นั้นที่จะต้องอพยพออกจากที่นั่น”

 

และในหนังสือ  “อะหฺสะนุลกะลาม  ฟิล  ฟะตาวา  วัล-อะหฺกาม”  ของชัยคฺอะฏียะฮฺ  ศอกร์  เล่มที่  9/  428  ระบุว่า  เงื่อนไขของการที่จะปรากฏว่าดินแดนหรือแว่นแคว้นหนึ่งเป็น “ดารุสสลาม”  (คือดินแดนแห่งสันติภาพ)  มี  2  ประการคือ 1) ความปลอดภัยในชีวิต  ทรัพย์สิน  และ  2) เสรีภาพ  ถามว่าถ้าประเทศไทยโดยโครงสร้างทางรัฐศาสตร์เป็นดารุลกุฟร์เพราะมิได้ถูกปกครองด้วยหลักนิติธรรมอิสลาม 

 

แล้วประเทศไทยเป็นดารุลหัรฺบ์คือดินแดนที่เป็นศัตรูและประกาศสงครามศาสนากับชาวมุสลิมและอิสลามใช่หรือไม่?  หากตอบว่าใช่  ก็จำเป็นที่จะต้องอพยพ  (ฮิจเราะฮฺ)  ออกจากประเทศไทยไปยังดารุลอิสลามใช่หรือไม่?  หากตอบว่า  ใช่!  ก็ถามว่าแล้วทำไมประชาคมมุสลิมจำนวนหลายล้านคนจึงยังคงอยู่ในประเทศไทย ทั้งๆ ที่ประเทศไทยเป็นดารุลหัรฺบ์และดารุลอิสลามที่จำเป็นจะต้องอพยพไปยังที่นั่นคือประเทศใด?  ใช่ประเทศซาอุดิอาระเบียหรือไม่?

 

ถ้าตอบว่าใช่!  แล้วทำไมอาจารย์ยังคงอยู่ในประเทศไทยโดยไม่อพยพไปยังที่นั่นเล่า?  เพราะการอพยพจากดินแดนที่กดขี่และทำสงครามกับมุสลิมและศาสนาอิสลามไปยังดินแดนอิสลามถือเป็นวาญิบตราบจนวันสิ้นโลก  ส่วนการอพยพจากนครมักกะฮฺสู่นครมะดีนะฮฺในสมัยของท่านรสูล  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)  นั้นสิ้นสุดลงแล้ว  เพราะไม่มีการอพยพใดๆภายหลังการพิชิตนครมักกะฮฺ  เพราะนครมักกะฮฺกลายเป็นดินแดนอิสลามไปแล้วเมื่อถูกพิชิต  แต่ข้อชี้ขาด  (หุกม์)  ว่าด้วยการอพยพออกจากดารุลหัรฺบ์สู่ดินแดนอิสลามยังคงบังคับใช้อยู่ตราบจนวันสิ้นโลก

 

แล้วทำไมพวกเราจึงยังคงอยู่ในดินแดนนี้ที่เรียกว่าประเทศไทย  แน่นอนมีคำตอบของนักวิชาการระบุเอาไว้แล้วข้างต้นว่า  ดินแดนใดที่มุสลิมอาศัยอยู่ด้วยความปลอดภัยและมีเสรีภาพในการถือศาสนา  นั่นถือว่า  เป็นดินแดนอิสลามเพราะนักวิชาการระบุว่า  :  และหากว่ามีความหวังในการปรากฏชัดของอิสลาม  (ในดินแดนนั้นๆ )  ก็ไม่มีสุนนะฮฺให้เขาผู้นั้นอพยพไปยังดินแดนอิสลาม  แต่ที่ดีที่สุดคือให้ผู้นั้นอาศัยอยู่ที่นั่น  หรือว่าผู้นั้นมีความสามารถในการหักห้ามบรรดาผู้ปฏิเสธ  (จากการคุกคามในลักษณะต่างๆและผู้นั้นก็สามารถอยู่ได้เพียงลำพังที่นั่น  (ก็ย่อมไม่มีสุนนะฮฺให้อพยพจากที่นั่น)

 

และถ้าหากว่าผู้นั้นไม่มีความหวังในการได้รับความช่วยเหลือจากชาวมุสลิมให้ทำการอพยพนั้น  ก็ย่อมปรากฏว่าการอาศัยอยู่ในที่นั่นของผู้นั้นเป็นสิ่งจำเป็น  (วาญิบ)  เพราะสถานที่ที่เขาอยู่ถูกเรียกว่า  “ดารุลอิสลาม”  และถ้าหากไม่มีทางที่ผู้นั้นจะทำให้ศาสนาของตนปรากฏชัดหรือผู้นั้นเกรงว่าจะถูกฟิตนะฮฺในศาสนาของเขาและเขาก็สามารถอพยพได้  ก็ถือว่าการอพยพของเขาเป็นสิ่งจำเป็น  (วาญิบ)  แล้วถึงแม้ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้หญิงก็ตามที”

(ฟุรูอุลมาสาอิล  (ภาษามลายู) 2/340) 

 

แต่ถ้าอาจารย์จะค้านว่าประเทศไทยเป็นดารุลกุฟร์  เพราะมิได้ปกครองด้วยกฎหมายอิสลามหรือหลักชะรีอะฮฺไม่มีบทลงโทษ  (หุดูด)  และ  ฯลฯ ก็สุดแล้วแต่ท่านอาจารย์จะตัดสิน  แต่ถ้าท่านอาจารย์คิดอย่างลุ่มลึก  ถี่ถ้วนอาจารย์จะได้คำตอบบางอย่างที่หลายๆคนมองผ่าน  นั่นคือ  โดยทางการประเทศไทยไม่ได้ใช้กฎหมายชะรีอะฮฺก็จริง  แต่ประชาคมมุสลิมก็ใช้กฎหมายชะรีอะฮฺในวิถีชีวิตของพวกเขาเกือบ  90%  อยู่แล้วโดยข้อเท็จจริงอย่างน้อยหากเราพิจารณาเนื้อหาของนิติศาสตร์อิสลาม  (อัล-อะหฺกาม  อัล-ฟิกฮียะฮฺ)  ก็จะมีอยู่  2  หมวดใหญ่ๆ คือ  อะหฺกาม  อัล-อิบาดาตและอะหฺกาม  อัล-มุอามะลาต ทั้ง  2  หมวดประชาคมมุสลิมในประเทศไทยใช้กันเป็นเรื่องปกติโดยไม่มีกฎหมายของรัฐเข้ามาแทรกแซงหรือห้าม 

 

ส่วนเรื่องกฎหมายอาญาและบทลงโทษ  (อะหฺกาม  อัลญินายาตวัลหุดูดนั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ไม่ได้ใช้แต่ก็ใช่ว่ากฎหมายของบ้านเมืองจะไม่มีส่วนนี้อยู่เลยหรือขัดกับกฎหมายชะรีอะฮฺไปเสียทั้งหมด  ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า  บางคนเข้าใจว่ากฎหมายชะรีอะฮฺก็คือ  กิศอศ  เฆี่ยน  และตัดมือ  ทั้ง    ที่เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกฎหมายชะรีอะฮฺเท่านั้นนี่แหล่ะคือปัญหา

 

ย้อนกลับมายังเรื่องของผู้นำซึ่งเป็นประเด็นที่เรากำลังวิเคราะห์ร่วมกัน

อาจารย์เขียนว่า  :

คำว่า  ผู้นำ  (อัลอิมามะฮฺตามหลักการอิสลามมีกี่ประเภท

คำตอบ

ตำแหน่งอิมามะฮฺหรือคิลาฟะฮฺมีหลายประเภท  ขึ้นอยู่กับว่าจะพิจารณาในแง่มุมใด  (อิอฺติบ็ารฺ)  ถ้าพิจารณาถึงความสมบูรณ์และความครบถ้วนของเงื่อนไขที่ปรากฏในคำนิยามก็แบ่งได้  2  ประเภท   

 

1) สมบูรณ์  (ตามมะฮฺ)  คือตำแหน่งผู้นำที่ประชาคมมุสลิมเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ต่อความเป็นผู้นำนั้น  และมีการทำสงครามญิฮาดกับบรรดาผู้ปฏิเสธภายใต้อำนาจและหน้าที่ของผู้นำ  ตลอดจนศาสนาสูงเด่นด้วยเหตุแห่งการเป็นผู้นำนั้น

 

2) ไม่สมบูรณ์  (ฆอยรฺ  ตามมะฮฺ)  คือตำแหน่งผู้นำที่ผู้คนรวมตัวกันยอมรับความเป็นผู้นำของผู้ดำรงตำแหน่ง  และไม่มีการญิฮาดกับบรรดาผู้ปฏิเสธเนื่องด้วยเหตุแห่งการเป็นผู้นำนั้น

(ดูมินฮาญุสสุนนะฮฺ  ;  อิบนุตัยมียะฮฺ  2/208, มันฮะญุสสุนนะฮฺ  ;  ดร.ยะหฺยา  อิสมาอีล  หน้า  250)

 

แต่ถ้าพิจารณาถึงความเป็นต้นแบบของสอดคล้องกับสุนนะฮฺของท่านรสูล  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)  ก็แบ่งได้  2  ประเภท  ตามหะดีษของท่านสะฟีนะฮฺ  (ร.ฎ.)  (ดูมะวาริด  อัซ-ซอมอาน  กิตาบ  อัล-อิมาเราะฮฺ  บทอัล-คิลาฟะฮฺ  (369)  ,  อัล-มุสตัดรอกของอัล-หากิม 3/145 และกิตาบอัส-สุนนะฮฺ 2/562)  คือ

 

1) คิลาฟะฮฺ (อิมามะฮฺ) อันนุบูวะฮฺคือความเป็นผู้นำภายหลังจากท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)  กินระยะเวลา 30 ปีนับตั้งแต่เคาะลีฟะฮฺอบูบักร  (..)  จนถึงการสละตำแหน่งของท่านอัลหะสัน  (..)  แก่ท่านมุอาวียะฮฺ  (..)  ในปีอัลญะมาอะฮฺ  (..ที่  41)  ถือเป็นต้นแบบและมาตรฐานในเรื่องของผู้นำและการปกครองตามรัฐศาสตร์อิสลาม 

(มินฮาญุสสุนะฮฺ  3/166)

 

2) คิลาฟะฮฺ  (อิมามะฮฺอัลมุลก์คือความเป็นผู้นำแบบกษัตริย์  ซึ่งเริ่มต้นด้วยการรับตำแหน่งของท่านมุอาวียะฮฺ  (..)  โดยท่านอัลหะสัน  (..)  ได้สละตำแหน่งและให้สัตยาบัน  เป็นภาวะผู้นำในประวัติศาสตร์อิสลามที่ยาวนานและสิ้นสุดลงในปีค..1924  เมื่อมุศเฏาะฟา  เคมาล  อตาเติร์กประกาศยกเลิกระบอบคิลาฟะฮฺแห่งราชวงศ์อัลอุษมานียะฮฺ 

(ดูหาฎิรฺ  อัลอาลัม  อัลอิสลามียฺ”  ;  ชะกีบ  อัรสะลาน  หน้า  351, 353 , อัศศิรออฺ  บัยนัลฟิกเราะฮฺ  อัลอิสลามียะฮฺ  วัลฟิกเราะฮฺ  อัลฆอรฺบียะฮฺ  ;  อันนัดวียฺ)

 

แต่ถ้าพิจารณาที่มาของตำแหน่งผู้นำและวิธีการก็สามารถแบ่งออกเป็น  4  ประเภทคือ

1) การแต่งตั้งผู้นำด้วยตัวบท  (อิมามะฮฺ  บินนัศ)

2) การแต่งตั้งผู้นำด้วยการมอบพันธสัญญา  หรือการสั่งเสีย  (อิมามะฮฺ  บิวิลายะติลอะฮฺด์  เอาบิลฺอีศออฺ)

3) การได้อำนาจผู้นำด้วยการยึดอำนาจ  (อิมามะฮฺ  บิลเกาะฮฺร์  วัลเฆาะละบะฮฺ)

4) การยอมรับผู้นำด้วยการสัตยาบัน  (อิมามะฮฺ  บิลบัยอะฮฺ)

(ดูอัล-ฟิกฮุลอิสลามียฺ  ว่า  อะดิลละตุฮู  ;  ดร.วะฮฺบะฮฺ  อัซ-ซุหัยลียฺ  6/673-684) 

 

และถ้าหากจะพิจารณาถึงขอบเขตของอำนาจหน้าที่  (อัส-สุลเฏาะฮฺ  วัล-วิลายะฮฺ)  ก็แบ่งได้  2  ประเภท  คือ

1) ผู้นำที่มีอำนาจเต็มหรือครอบคลุม  (อัลอิมามะฮฺ  ซาติล  วิลายะฮฺ  อัลอามมะฮฺซึ่งในช่วงต้นอิสลามผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐอิสลามจะมีลักษณะตามประเภทนี้

 

2) ผู้นำที่มีอำนาจเฉพาะ  (อิมามะฮฺ  ซาติล  วิลายะฮฺ  อัลคอศเศาะฮฺเช่น  กรณีของท่านอัมร์อิบนุอัลอาศ  (..)  ในช่วงแรกมีอำนาจเต็มในการปกครองอียิปต์  ต่อมาท่านเคาะลีฟะฮฺอุมัรฺ  (..)  ก็แต่งตั้งให้ท่านอับดุลลอฮฺ  อิบนุ  อบีสัรฺหินเป็นผู้มีอำนาจจัดเก็บภาษีอัลเคาะรอจญ์และแต่งตั้งกะอฺบ์  อิบนุ  สูรฺเป็นผู้พิพากษา  (กอฎียฺอำนาจของผู้ปกครองเมือง  (อัลวาลียฺจึงจำกัดอยู่เฉพาะการเป็นแม่ทัพและอิมามนำละหมาด 

(อันนุซุม  อัลอิสลามียะฮฺ ; ดร.หะสัน  อิบรอฮีม  หน้า  201 , อัสสุลฏอตอัษษะลาษ  ;  อัฏฏิมาวียฺ  หน้า  302…)

 

และหากพิจารณาถึงระดับของการเป็นผู้นำและขอบเขตของอำนาจหน้าที่ก็แบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ

1) อิมามะฮฺ  อุซฺมา  (ผู้นำสูงสุดของรัฐคือ  ผู้ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺนั่นเอง

2) อิมามะฮฺ  ศุฆรอ  (ผู้นำที่เล็กกว่าประเภทแรกเช่น  การเป็นอิมามนำละหมาด  เป็นต้น

 

สำหรับคำถามของอาจารย์ที่ว่า  :

และตำแหน่งชัยคุลอิสลาม  ( شيخ الإسلامมีขึ้นในสมัยใด  และมีหรือไม่ในศาสนาอิสลาม  และถ้าไม่มี  มันพอจะเทียบเคียงได้กับตำแหน่งใด

คำตอบ

อัล-หาฟิซฺ  อิบนุ  นาศิริดดีน  อัด-ดิมัชกียฺ  อัช-ชาฟิอียฺ  (เสียชีวิตฮ.ศ.842)  ได้ให้ความหมายคำ  “ชัยคุลอิสลาม”  ว่ามีหลายความหมาย  ส่วนหนึ่งคือผู้อาวุโส  (สูงอายุ)  ในศาสนาอิสลามที่มีผมหงอกแล้ว  บุคคลผู้นั้นมีความเป็นเอกเทศด้วยสิ่งดังกล่าวต่างจากบุคคลที่ผ่านพ้นช่วงอายุในรุ่นราวคราวเดียวกัน  และผู้นั้นได้รับคำสัญญาที่บอกข่าวดีว่าได้รับความปลอดภัย  คือ  หะดีษที่ว่า  “ผู้ใดมีผมหงอกในอิสลาม  ผมหงอกนั้นคือรัศมีสำหรับเขาในวันกิยามะฮฺ”  (เศาะหิหฺ  อัล-ญามิอฺ  อัศ-เศาะฆีรฺ  ;  อัล-อัลบานียฺ  หะดีษเลขที่  6307)

 

และส่วนหนึ่งมีความหมายในจารีตของผู้คนทั่วไปว่า  :  แท้จริงเขาคือ  อัล-อุดดะฮฺ  (หมายถึงผู้มีความพร้อม)  เป็นที่พึ่งสำหรับผู้คนในทุกวิกฤติและส่วนหนึ่งคือ  ผู้นั้นเป็นผู้อาวุโสแห่งอิสลามด้วยการดำเนินตามวิถีของชาวอิสลาม  โดยผู้นั้นปลอดภัยจากสิ่งไม่ดีในช่วงวัยหนุ่มและความเขลาของวัยหนุ่ม  ดังนั้นเขาจึงดำรงอยู่บนแนวทาง  (สุนนะฮฺ)  ทั้งในส่วนที่เป็นฟัรฎูและสุนนะฮฺ  และส่วนหนึ่งคือผู้อาวุโสในอิสลามเมื่อพิจารณาถึงระดับของอัล-วิลายะฮฺ  และผู้คนถือว่าการมีชีวิตของผู้นั้นคือความจำเริญ  และการมีอยู่ของผู้นั้นในหมู่พวกเขาคือสิ่งที่ถูกมุ่งหมาย

 

และส่วนหนึ่งของคำว่า  ชัยคุลอิสลาม  ที่มีความหมายอันเป็นที่รู้กันในหมู่ผู้มีปัญญาเป็นเลิศเป็นนักวิเคราะห์  และรู้กันในหมู่อิมามแห่งสายรายงาน  (นักวิชาการหะดีษ)  ว่า  แท้จริงบรรดาชัยคุลอิสลาม  บรรดาอิมามผู้เรืองนามคือบรรดาผู้ที่ปฏิบัติตามคัมภีร์ของอัลลอฮฺ  ดำเนินตามอย่างสุนนะฮฺของท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)  …”

(อัรฺรอดดุลวาฟิรฺ  ;  อิบนุ  นาศิริดดีน  อัด-ดิมัชกียฺ  ,  สำนักพิมพ์อัล-มักตับ  อัล-อิสลามียฺ  (1991)  หน้า  51) 

 

ความหมายของคำว่า  ชัยคุลอิสลาม  ตามที่ระบุข้างต้นเป็นความหมายในเชิงภาษา  (ลุเฆาะวียฺ)  ซึ่งอัล-หาฟิซ  อิบนุ  นาศิริดดีนอัด-ดิมัชกียฺ  (ร.ฮ.)  ได้ระบุว่ามีบรรดานักวิชาการในยุคต้นอิสลามเป็นจำนวนมากที่เป็นอิมามมุจญ์ตะฮิดและสมควรที่จะถูกเรียกว่า  ชัยคุลอิสลาม  (อางแล้ว  หน้า  52  ,  53)  และในแต่ละรุ่นของนักวิชาการที่สมควรถูกเรียกว่า  “ชัยคุลอิสลาม”  นั้นก็จะมีระดับของความรู้รองลงมาจากชนรุ่นก่อน  ดังนั้นทุกสถานที่ย่อมมีคำพูดที่เหมาะสม  และทุกๆสมัยย่อมมีบรรดาอิมามและบุคคล  (อ้างแล้วหน้า 54) 

 

ดังนั้นฉายา  (ละก็อบ)  ชัยคุลอิสลามในประวัติศาสตร์ของนักปราชญ์อิสลามจึงมีบุคคลที่ได้รับฉายานามนี้นับตั้งแต่รุ่นของนักวิชาการฟิกฮฺทั้ง  7  ท่านซึ่งเป็นยุคสะลัฟศอลิหฺและนักวิชาการในหัวเมืองสำคัญของอิสลาม  (อ้างแล้ว  หน้า  52-54)  นักวิชาการเช่นอิมามอัน-นะวาวียฺ  (ร.ฮ.)  อิมามอัล-อัสนะวียฺ  (ร.ฮ.)  ก็ถูกเรียกขานว่า  ชัยคุลอิสลาม  และนักวิชาการอย่างอัล-ฟิซารียฺ  (ร.ฮ.)  อัล-กุชัยรียฺ  (ร.ฮ.)  อัล-ฟาริกียฺ  (ร.ฮ.)  อัล-หาริษียฺ  (ร.ฮ.)  และอิบนุตัยมียะฮฺ  (ร.ฮ.)  ต่างก็ถูกเรียกขานว่า  ชัยคุลอิสลาม  ทั้งสิ้น  (อ้างแล้ว  หน้า  55) 

 

และซุฮัยรฺ  อัช-ชาวีชฺ  ผู้ตรวจทานหนังสืออัรฺรอดดุล  วาฟิรฺ  ฯ  กล่าวไว้ในเชิงอรรถ  หน้า  56  ว่า  “และนับตั้งแต่  300  ปีมาแล้ว  คำว่า  ชัยคุลอิสลาม  ได้ถูกเรียกขานแก่บรรดาชัยคุลอัซฮัรฺ  และมุฟตียฺแห่งนครอิสตันบูลและบุคคลอื่นๆอีกจำนวนหลายสิบหรือนับพันคนก็ถูกเรียกขานว่า  ชัยคุลอิสลาม  ในทำนองเดียวกันฉายานามนี้ยังถูกใช้เรียกกับบรรดานักวิชาการเป็นจำนวนมากตราบจนปัจจุบันและมีบุคคลเป็นจำนวนมากจากพวกเขาไม่ได้มีความใกล้เคียงกับท่านอิบนุตัยมียะฮฺด้วยซ้ำ”

 

อนึ่งหนังสือ  “อัรฺรอดดุลวาฟิรฺฯ”  เป็นหนังสือที่ท่านอัล-หาฟิซฺ  อิบนุนาศิริดดีน  อัด-ดิมัชกียฺ  อัช-ชาฟิอียฺ  (ร.ฮ.)  นักปราชญ์ในภาควิชาอัล-หะดีษและฟิกฮฺสังกัดมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺได้แต่งขึ้นเพื่อปกป้องท่านอิบนุตัยมียะฮฺ  (ร.ฮ.)  ซึ่งถูกเรียกขานว่า  “ชัยคุลอิสลาม”  จากผู้กล่าวหาท่านอิบนุตัยมียะฮฺ  (ร.ฮ.)  คือ  มุฮัมมัด  อิบนุ  มุฮัมมัด  อัล-อะญะมียฺ  ที่รู้จักกันในชื่ออัล-อะลาอฺ  อัล-บุคอรียฺ  (เสียชีวิตฮ.ศ.841)  ซึ่งบุคคลผู้นี้อ้างว่า  ผู้ใดเรียกอิบนุตัยมียะฮฺว่า  ชัยคุลอิสลาม  ผู้นั้นเป็นกาฟิรและไม่อนุญาตให้ละหมาดตามหลังผู้นั้น  (ดูอ้างแล้ว  หน้า  21, 50)  และกล่าวหาท่านอิมามอัน-นะวาวียฺ  (ร.ฮ.)  ว่า  เป็นคนซอฮิรียฺไม่อนุญาตให้ดูตำราของเขา

 

เหตุนี้ท่านอัล-หาฟิซฺ  อัด-ดิมัชกียฺ  (ร.ฮ.)  จึงแต่งหนังสืออัร-รอดดุลวาฟิรฺ  ฯ  เพื่อหักล้างคำกล่าวของอัล-อะลาอฺ  อัล-บุคอรียฺและปกป้องท่านชัยคุลอิสลาม  อิบนุตัยมียะฮฺ  (ร.ฮ.)  จึงเป็นเรื่องแปลกแต่จริงว่า  ทำไมนักวิชาการบางท่านในบ้านเราซึ่งอ้างว่ายึดในมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺจึงกล่าวโจมตีท่านชัยคุลอิสลาม  อิบนุตัยมียะฮฺ  (ร.ฮ.)  ว่าเป็นพวกนอกรีต  เป็นมุญัสสิมและเป็นกาฟิรฺ  วัลอิยาซุบิลลาฮฺ  ทั้งๆที่ปราชญ์อย่างท่านอัล-หาฟิซฺ  อิบนุนาศิริดดีน  อัด-ดิมัชกียฺ  (ร.ฮ.)  ซึ่งเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ในมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺได้ปกป้องท่านอิบนุตัยมียะฮฺ  (ร.ฮ.)

 

ย้อนกลับมายังเรื่องของคำว่า  ชัยคุลอิสลาม  ซึ่งคำเรียกขานนี้มีมานับแต่ช่วงยุคต้นอิสลามแล้วแต่โดยรวมมุ่งหมายถึงบรรดานักวิชาการที่มีความรู้อย่างเอกอุในด้านวิชาฟิกฮฺและอัลหะดีษ  ส่วนตำแหน่งชัยคุลอิสลามนั้น  เริ่มมีปรากฏชัดเจนในรัชสมัยสุลฏอนสะลีม  ข่านที่  1  แห่งอุษมานียะฮฺ  โดยเรียกมุฟตียฺแห่งนครอิสตันบูลว่า  “ชัยคุลอิสลาม”  ถือเป็นบุคคลสำคัญลำดับที่ 2 รองจากสุลฏอนซึ่งองค์กรที่รับผิดชอบในด้านการพิพากษาคดีความ  (อัลฮัยอะฮฺ  อัดดีนียะฮฺขึ้นตรงกับชัยคุลอิสลามซึ่งมีหน้าที่ตัดสินคดีความที่มีการยื่นเรื่องขึ้นมา และถึงแม้ว่าการตัดสินคดีความของชัยคุลอิสลามจะเป็นที่ยุติลุล่วง  แต่โดยมากจะเป็นเรื่องของการพิจารณาคดีความเสียมากกว่า


ในรัชสมัยสุลฏอนมุฮัมมัด  อัลฟาติหฺและสุลัยมานที่  1  มีการเพิ่มอำนาจให้แก่มุฟตียฺผู้ดำรงตำแหน่งชัยคุลอิสลาม  ในปีฮ..978  สุลฏอนสะลีมข่านที่  2  ได้ขอให้มุฟตียฺ  ชัยคุลอิสลาม  อบูสะอูด  (..)  ออกคำฟัตวาเกี่ยวกับกรณีของเวนิส  ต่อมาอำนาจของชัยคุลอิสลามก็ค่อยๆ ลดน้อยลง  ในราชธานีของอุษมานียะฮฺ  บรรดาเจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการศาสนาจะขึ้นตรงกับอำนาจของมุฟตียฺหรือชัยคุลอิสลามและในหัวเมืองใหญ่ๆจะมีบรรดาผู้พิพากษาที่เรียกว่า  กุฎอตฺ  อัลอัสกัรฺ  ทำหน้าที่แทน  ส่วนในหัวเมืองขนาดเล็กจะมีอิมามทำหน้าที่รับผิดชอบกิจการด้านศาสนาทั้งหมดโดยเฉพาะในเขตชนบท 

(ตารีค  อัดเดาวฺละฮฺ  อัลอุษมานียะฮฺ  ;  ดร.อะลี  หัสสูน  หน้า  405)

 

อาจกล่าวได้ว่า  ตำแหน่งชัยคุลอิสลาม  ก็คือตำแหน่งของผู้นำทางศาสนาอิสลามที่มีอำนาจหน้าที่ปกครององค์กรฝ่ายศาสนาอิสลามและองค์กรฝ่ายตุลาการคือเป็นมุฟตียฺแห่งนครอิสตันบูลและดูแลฝ่ายตุลาการที่มีกอฎียฺ  อัล-อัสกัรฺ  ทำหน้าที่แทนในหัวเมืองใหญ่  (สันญักหรือบะชาลิก)  และมีอิมามทำหน้าที่ในระดับท้องถิ่น

 

ชัยคุลอิสลามในบางรัชสมัยของอุษมานียะฮฺอาจควบ  2  ตำแหน่งในเวลาเดียวกันคือเป็นกอฎียฺสูงสุดและมุฟตียฺสูงสุด  แต่อำนาจในด้านการปกครองและบริหาร  จะเป็นของสุลฏอนแห่งอุษมานียะฮฺ  รองลงมาคือ  อัศ-ศอดรุล  อะอฺซอม  (เทียบได้กับนายกรัฐมนตรี  (เราะอีสอัล-วุซะรออฺ)  หรือ  เอกอัครมหาเสนาบดีตามทำเนียบศักดินา  แต่อัศ-ศอดรุลอะอฺซอมจะมีอำนาจทั้งฝ่ายกลาโหมและฝ่ายพลเรือน

 

ดังนั้นเมื่อถามว่าตำแหน่งชัยคุลอิสลามมีขึ้นในสมัยใด  ก็ตอบได้ว่ามีขึ้นในสมัยสุลฏอนสะลีมข่านที่  1  แห่งอุษมานียะฮฺ  (..1512-1520)  คือ  มีมาร่วม 5 ศตวรรษที่ผ่านมา  และคำถามที่ว่ามีหรือไม่มีในศาสนาอิสลาม  ก็ตอบได้ว่า  ถ้าถือเอาตำแหน่งชัยคุลอิสลามเป็นกอฎียฺหรือมุฟตียฺที่ถูกเรียกในตำแหน่งว่า  ชัยคุลอิสลาม  มีหรือไม่ก็ตอบได้ว่า  มีในรัชสมัยอุษมานียะฮฺ  ส่วนถ้าย้อนกลับไปในยุคก่อนหน้านั้น  ชัยคุลอิสลาม  มิใช่ตำแหน่งแต่เป็นฉายานาม  (ละก็อบของนักปราชญ์ในศาสนาอิสลามซึ่งบางท่านก็เคยดำรงตำแหน่งกอฎียฺและบางท่านก็มีสถานภาพเป็นผู้วินิจฉัยปัญหาศาสนาซึ่งเรียกว่ามุฟตียฺ 

 

และที่ถามว่า  ชัยคุลอิสลามเทียบได้กับตำแหน่งใดบ้าง  ก็ตอบได้ว่า  ตำแหน่งมุฟตียฺสูงสุดในสมัยอุษมานียะฮฺคือชัยคุลอิสลาม  และมิใช่เป็นการเทียบเพราะเป็นตำแหน่งเดียวกัน  ส่วนตำแหน่งชัยคุลอิสลามเทียบได้กับตำแหน่งจุฬาราชมนตรีในบ้านเราใช่หรือไม่  ก็ตอบว่า  ใช่  เพราะจุฬาราชมนตรีมีลักษณะใกล้เคียงกับตำแหน่งชัยคุลอิสลามในรัฐอุษมานียะฮฺถึงแม้ว่าจะมีอำนาจและหน้าที่แตกต่างกันในบางประเด็นและการเทียบนี้ไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกันในทุกประเด็น  เหตุเพราะอาจารย์ถามว่า  มันพอจะเทียบเคียงได้กับตำแหน่งใด”  คำว่า  “พอจะเทียบเคียงได้”  ก็บ่งชี้ว่าเป็นเรื่องอนุโลม หรือจะเทียบกับตำแหน่งมุฟตียฺก็คงได้  เพราะจุฬามีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการวินิจฉัยประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม  และเป็นผู้นำองค์กรบริหารกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย  มีสำนักจุฬาราชมนตรีเป็นที่ทำการ  เช่นเดียวกับมุฟตียฺในประเทศมุสลิมอย่างประเทศอียิปต์ก็จะมี  “ดารุลอิฟตาอฺ  อัลมิศริยะฮฺ”  หรือในสมัยอุษมานียะฮฺก็มี  “บาบ  อัลมัชยะเคาะฮฺ  อัลอิสลามียะฮฺ” 

(ดูอัลคิลาฟะฮฺ  ;  สัยยิด  มุฮัมมัด  เราะชีด  ริฎอ  หน้า  155) 

 

แต่ถ้าอาจารย์จะค้านว่า  ตำแหน่งอย่างเป็นทางการของชัยคุลอิสลามไม่เคยมีในตัวบทของศาสนาอิสลาม  ข้อนี้เราก็ไม่ปฏิเสธ  เพราะในยุคสะลัฟศอลิหฺไม่ปรากฏว่ามีผู้ดำรงตำแหน่งชัยคุลอิสลาม  (ย้ำว่าตำแหน่งซึ่งสอดคล้องกับข้อเขียนของดร.ยูสุฟ  อัลกอรฎอวียฺ  ในหนังสือ  “เอาละวียาต  อัลบะเราะกะฮฺ  อัลอิสลามียะฮฺ”  หน้า  142  แต่ตำแหน่งชัยคุลอิสลามเพิ่งจะมีในสมัยอุษมานียะฮฺซึ่งเป็นสมัยหลัง  กระนั้นตำแหน่งชัยคุลอิสลามก็มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์การปกครองของมุสลิม และมีอยู่ในบ้านเราจริงๆ

 

ประเด็นอยู่ที่ว่า  จุฬาราชมนตรีหรือชัยคุลอิสลามในประเทศไทยใช่ผู้นำของประชาคมมุสลิมไทยหรือไม่นี่คือประเด็นที่เรากำลังพูดถึงและเราก็เชื่อว่าจุฬาราชมนตรีคือผู้นำของเรา  ประชาคมมุสลิมส่วนใหญ่ก็เชื่อเช่นนั้น  ถามว่าความเชื่อที่ว่านี้มีหลักฐานหรือเหตุผลทางวิชาการรองรับหรือไม่คำตอบก็คือ  มีทั้งจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺ  ตลอดจนหลักการตามรัฐศาสตร์อิสลามที่อยู่ในตำรับตำรา  และเหตุผลที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงรวมถึงกฎหมายที่มีการตราขึ้นเป็นพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม  ..2540 

 

ส่วนคนที่ไม่เชื่อว่าจุฬาราชมนตรีคือผู้นำของประชาคมมุสลิม  ก็ต้องถูกตั้งคำถามเช่นกัน  มิใช่ตั้งคำถามเอาแต่ฝ่ายเดียว 

กล่าวคือคนที่ไม่เชื่อหรือไม่ยอมรับว่า  จุฬาราชมนตรีคือผู้นำของประชาคมมุสลิม  ก็สมควรที่จะต้องตอบว่า  แล้วใครคือผู้นำของพวกท่าน?  

ผู้นำที่พวกท่านอ้างมีหลักการข้อใดบ้างมารองรับในกรณีที่ว่ามีผู้นำสำหรับพวกท่านเป็นการเฉพาะ 

และผู้นำที่ถูกกล่าวอ้างนั้นมีอำนาจในการลงโทษหรือไม่หากมีผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง 

มีอำนาจในการตรากฎหมายหรือออกระเบียบ  ข้อบังคับในเรื่องใดบ้าง และยกเลิกกฎหมายที่ขัดต่อหลักการของศาสนาได้โดยลำพังหรือไม่

ที่มาของผู้นำที่พวกท่านอ้างมีที่มาอย่างไรพวกท่านตั้งกันเองหรือว่าถูกเลือกจากอะฮฺลุลหัล  วัลอักด์  และผู้นำคนนั้นเป็นผู้นำแบบ  อิมามะฮฺ  กุบรอ  หรือแบบอิมามะฮฺ  ศุฆรอ  เป็นแบบอามมะฮฺหรือคอศเศาะฮฺและมีหลักฐานจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺ หรือไม่ที่ยืนยันและรับรองสถานภาพความเป็นผู้นำของคนๆ นั้น

 

และฝ่ายที่เชื่อว่า  จุฬาราชมนตรีคือผู้นำของพวกเขาผิดด้วยหรือในเมื่อพวกเขาอาศัยหลักฐานจากอัลกุรอาน  คำอรรถาธิบายในตำราตัฟสีรฺของนักวิชาการที่ระบุถึง  วะลียุลอัมร์  และอัลหะดีษตลอดจนคำอธิบายของนักวิชาการมาสนับสนุนความเชื่อของพวกเขาและคำถามตลอดจนข้อกล่าวอ้างต่างๆนานาที่พวกท่านกล่าวและเขียนนั้น  ท่านตอบอย่างกระจ่างชัดเจนตามความเห็นของท่านหรือไม่หรือฝ่ายที่เชื่อว่าจุฬาราชมนตรีเป็นผู้นำสูงสุดของพวกเขาจำต้องตอบอยู่ฝ่ายเดียว  ครั้นเมื่อตอบแล้วท่านจะเห็นด้วยและยอมรับหรือไม่?

 

แต่ถ้าหากพวกท่านไม่สามารถตอบคำถามที่ถูกย้อนศรไปยังพวกท่าน  ว่าใครคือผู้นำของพวกท่านก็ถามต่อว่า  พวกท่านไม่มีผู้นำใช่หรือไม่?  หากตอบว่า  ไม่ใช่  เรามีผู้นำของพวกเรา!  คำถามข้างต้นพวกท่านก็ต้องตอบมา  ไม่ใช่ฝ่ายเรา

 

แต่ถ้าพวกท่านตอบว่า  ใช่  พวกเราไม่มีผู้นำ!  ไม่ว่าจะเป็นจุฬาราชมนตรีหรือใครก็ตาม  ก็ถามว่าพวกท่านจะปฏิบัติตามอัล-กุรอาน  อายะฮฺที่  59  จากสูเราะฮฺอัน-นิสาอฺอย่างไร?  และพวกท่านจะปฏิบัติตามบรรดาอัล-หะดีษที่มีรายงานมาในบทที่ว่า  باب وجوب طاعة ولاة الأمور في غير معصية وتحريم طاعتهم في المعصية บทว่าด้วยความจำเป็นในการเชื่อฟัง  บรรดาวะลียุลอัมร์ในสิ่งที่มิใช่การฝ่าฝืน  (มะอฺศิยะฮฺและห้ามในการเชื่อฟังพวกเขาในกรณีฝ่าฝืนหลักการของศาสนาอย่างไร?”  ซึ่งเอาเฉพาะที่มีระบุในหนังสือริยาฎุศศอลิหีนของอิมามอันนะวาวียฺ  (..)  ก็มีถึง  11  หะดีษ  อย่างน้อยก็มีหะดีษจำนวน  11  หะดีษที่พวกท่านได้ทิ้งไปโดยไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้  เพราะสำหรับพวกท่านไม่มีผู้นำในขณะที่พวกท่านยังมีชีวิตอยู่ 

 

ถ้าหากพวกท่านจะค้านว่า  ใครว่าล่ะว่าพวกเราไม่ปฏิบัติตามหะดีษดังกล่าวเราเชื่อและปฏิบัติตามทุกประการ  ก็ถามว่าปฏิบัติกับใครเล่าก็ในเมื่อพวกท่านไม่มีผู้นำให้พวกท่านเชื่อฟังและปฏิบัติตาม  และหะดีษเหล่านั้นก็ยังคงถูกบังคับใช้อยู่  ไม่ได้ถูกยกเลิก  (มันสูคแต่ถ้าพวกท่านตอบว่า  ก็เชื่อฟังและปฏิบัติตามเคาะลีฟะฮฺและบรรดานักปกครองในยุคสะลัฟศอลิหฺนั่นไง  ก็ขอถามว่า  เคาะลีฟะฮฺท่านใดเล่านักปกครองคนไหนในเมื่อพวกท่านมีชีวิตอยู่ในพ..นี้หรือฮิจญ์เราะฮฺศักราชนี้  และพวกเขาเหล่านั้นก็กลับไปสู่พระองค์อัลลอฮฺ  (สุบหานะฮูว่าตะอาลาหมดสิ้นแล้ว  พวกท่านจะเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของพวกเขาอย่างไรในภาวะปัจจุบัน 

 

แน่นอนคำสั่งในอัลหะดีษหมายรวมถึงท่านเหล่านั้นที่เราจะต้องปฏิบัติตามและเชื่อฟัง  แต่นัยของอัลหะดีษจำกัดอยู่เฉพาะพวกท่านเหล่านั้นเพียงเท่านั้นโดยไม่รวมถึงวะลียุลอัมร์ในยุคปัจจุบันด้วยกระนั้นหรือ

 

คำถามเหล่านี้สำหรับคนที่อ้างว่าจุฬาราชมนตรีไม่ใช่ผู้นำ  (ศาสนาในบ้านเราหรือคนที่บอกว่าเราไม่มีผู้นำต้องตอบ  จะมีใครตอบข้อข้องใจเหล่านี้ของข้าพเจ้าได้หรือไม่  ตอบแบบวิชาการเต็มรูปแบบ  ไม่เอาคำตอบแบบกะโหลกกะลา 

 

ในขณะที่ท่านอาจารย์มองว่า  ปัญหาอยู่ที่ว่าใครคือผู้นำ  ข้าพเจ้ากลับมองว่า  ปัญหาน่าจะอยู่ที่กรณีของฝ่ายซึ่งไม่มีผู้นำมากกว่า  หรือยังสับสนอยู่ว่าใครคือผู้นำของตน 

 

ข้อเขียนของอาจารย์ที่ว่า  :

หากบอกว่าจุฬาคือผู้นำ  ก็ต้องถามว่าผู้นำตามที่นักวิชาการสังเคราะห์ไว้คือ  อามมะฮฺและคอศเศาะฮฺหรือจะเรียกว่ากุบรอกับศุฆรอ  จุฬาอยู่ในประเภทไหน” 

ตามความเห็นของอาจารย์  อาจารย์ว่าจุฬาราชมนตรีน่าจะอยู่ในประเภทไหนล่ะครับหากอาจารย์แสดงทัศนะประกอบมาด้วย  ประตูการศึกษาก็จะเปิดกว้างขึ้นเป็นแน่แท้  อาจารย์ถามอยู่ฝ่ายเดียว  คนที่อ้างหลักให้ตามผู้นำ  (ศาสนาในบ้านเราซึ่งอาจารย์บอกว่า  “ต้องตอบ”  ก็ตอบกันเหนื่อยเลยสิครับ  ความจริงถ้าท่านอาจารย์ตอบคำถามที่ตั้งขึ้นมาตามความเห็นของอาจารย์  ก็ย่อมถือว่ามีส่วนในการคลายความข้องใจได้ส่วนหนึ่งแล้ว  แต่อาจารย์ตั้งคำถามกับอีกฝ่ายแล้วก็ทิ้งประเด็นเอาไว้โดยไม่แสดงความเห็นว่าจุฬาน่าจะอยู่ในประเภทไหนแล้วประตูทางวิชาการจะเปิดกว้างได้อย่างไร

กระนั้นข้าพเจ้าก็ขอตอบประเด็นนี้ว่า

หากเราบอกว่า  จุฬาราชมนตรีคือผู้นำ ก็ไม่จำเป็นต้องถามว่า จุฬาราชมนตรีเป็นผู้นำประเภทใดระหว่างอามมะฮฺกับคอศเศาะฮฺ  หรือระหว่างกุบรอกับศุฆรอ  เพราะผู้นำ (วะลียุลอัมร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม  นักวิชาการได้ระบุไว้แล้วว่าเป็นบุคคลที่จะต้องถูกเชื่อฟัง  ( يُطَاعُ )  ในกรณีที่ผู้นำนั้นได้อิจญ์ติฮาด  ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้รับผิดชอบการกิจ  (วะลียุลอัมรฺอิมามนำละหมาด  ,  อัลหากิม  (ผู้ปกครอง)  ,  แม่ทัพ  (ผู้นำในการศึกและเจ้าหน้าที่เก็บรวบรวมซะกาต 

(ดูชัรฺหุล  อะกีดะฮฺ  อัฏเฏาะหาวียะฮฺ  ;  อิบนุ  อบิลอิซฺ  อัลหะนะฟียฺ  หน้า  376) 

 

และไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นนักวิชาการทางศาสนาหรือเป็นมุฟตียฺ  ,  กอฏียฺ  ,  ผู้นำคณะเดินทาง  ,  ผู้นำการประกอบพิธีฮัจญ์หรือแม้แต่ผู้นำครอบครัว  บุคคลดังกล่าวซึ่งข้าพเจ้าได้ไล่เรียงมีตัวบทจากอัลหะดีษและคำอธิบายของนักวิชาการระบุอย่างชัดเจนว่าจะต้องได้รับการฏออะฮฺเชื่อฟังและปฏิบัติตามในสิ่งที่ไม่ขัดด้วยหลักการของศาสนา  และกลุ่มบุคคลดังกล่าวมีอยู่ทั้งในประเภทอามมะฮฺและคอศเศาะฮฺ  ,  กุบรอและศุฆรอ 

 

นักวิชาการไม่ได้ระบุว่า  ถ้าเป็นผู้นำประเภทคอศเศะฮฺหรือศุฆรอ  ก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อฟัง  เพราะคำว่า  วะลียุลอัมรฺ  มิงกุม  เป็นถ้อยคำที่มีนัยครอบคลุม  (อามไม่ได้เจาะจง  (คอศเฉพาะประเภทหนึ่งประเภทใดจากบรรดาผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามหลักการของศาสนา (อัลวิลายะฮฺ  อัชชัรฺอียะฮฺ

 

ดร.วะฮฺบะฮฺ  อัซฺซุหัยลียฺอธิบายความหมายของ  “อูลิลอัมร์  มิงกุม”  ว่า  :  และสิ่งที่ปรากฏชัด  (อัซซอฮิรฺ) คือการมุ่งหมายถึงทั้งหมด  ดังนั้นการฏออะฮฺเชื่อฟังต่อบรรดาผู้ปกครอง  (อัลหุกกามและบรรดาผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ  (อัลวุลาตในด้านการเมือง  (อัสสิยาสะฮฺการเป็นผู้นำกองทัพ  (กิยาดะฮฺ  อัลญุยูชและการบริหารประเทศ  (อิดาเราะฮฺ  อัลบิลาดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น  (วาญิบและจำเป็นที่จะต้องเชื่อฟังบรรดานักวิชาการในอธิบายถึงบรรดาข้อชี้ขาดของบัญญัติศาสนา  การสั่งสอนผู้คนให้รู้ถึงหลักศาสนา  การสั่งใช้ให้ประกอบความดีและการห้ามปรามจากความชั่ว 

(อัตตัฟสีรฺ  อัลมุนีรฺ  ,  ดร.วะฮฺบะฮฺ  อัซซุหัยลียฺ  เล่มที่  5  หน้า  126) 

 

และท่านอิบนุ  อัลอะเราะบียฺ  อัลมาลิกียฺ  (..)  กล่าวว่า  :  “และที่ถูกต้อง    ข้าพเจ้าคือแท้จริงพวกเขา  (อูลุลอัมร์คือ  บรรดาผู้นำ  (อัลอุมะรออฺ  และบรรดานักวิชาการ  (อัลอุละมาอฺทั้งหมด  ส่วนบรรดาผู้นำนั้น  เป็นเพราะว่าหลักเดิมของคำสั่งมาจากพวกเขา  และการชี้ขาด  (หรือปกครองกลับไปยังพวกเขา  ส่วนบรรดานักวิชาการนั้น  เป็นเพราะว่าการถามพวกเขาเป็นสิ่งจำเป็นโดยเจาะจงเหนือผู้คน  และการตอบของพวกเขาเป็นสิ่งที่มีผลบังคับ  (ลาซิมและการปฏิบัติตามคำฟัตวา  (คำตอบทางศาสนาเป็นสิ่งจำเป็น” 

(อะหฺกามุลกุรฺอาน  ;  1/452)

 

อิมามฟัครุดดีน  อัรฺ-รอซียฺ  (ร.ฮ.)  กล่าวว่า  :  แท้จริงการปฏิบัติทั้งหลายของบรรดาผู้นำ  (อัล-อุมะรออฺ)  และบรรดาผู้มีอำนาจ  (อัส-สะลาฏีน)  ขึ้นอยู่กับคำฟัตวาของบรรดานักวิชาการ  (อัล-อุละมาอฺ)  และบรรดานักวิชาการในข้อเท็จจริง  (หะกีเกาะฮฺ)  คือบรรดาผู้นำของเหล่าผู้นำทั้งหลาย  (อุมะรออุล  อุมะรออฺ)

(ดูอัต-ตัฟสีรฺ  อัล-กะบีรฺ  ;  ฟัครุดดีน  อัร-รอซียฺ  เล่มที่  5  ภาคที่  10  หน้า  117)  

 

เป็นที่ทราบกันว่า  บรรดานักวิชาการ  (อุละมาอฺ)  ไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่ง  อิมามะฮฺกุบรอ  และมิใช่ผู้มีอำนาจหน้าที่โดยรวม  (วิลายะฮฺ  อามมะฮฺ)  ไม่มีอำนาจในการลงโทษผู้ใดตามกฎหมายชะรีอะฮฺ  แต่เหตุไฉนนักวิชาการที่เป็นเจ้าของตำราดังกล่าวจึงระบุว่า  บรรดานักวิชาการหรือนักปราชญ์คือส่วนหนึ่งจากอูลิลอัมร์  มิงกุม  ที่จำต้องฏออะฮฺเชื่อฟัง  เป็นไปได้หรือที่นักวิชาการผู้เป็นเจ้าของตำราดังกล่าวจะมีความรู้อย่างลวกๆ  ไม่มีความถ่องแท้  ไม่ละเอียด  และไม่ลุ่มลึก  หรือไม่ทราบด้วยซ้ำไปว่า  ผู้นำในคำจำกัดความของอูลิลอัมริ  มิงกุม  คืออะไร?

 

และหากว่าบรรดาผู้รู้ในศาสนามิใช่ผู้นำทางศาสนา  แล้วใครเล่าคือผู้นำทางศาสนา  คำพูดที่ว่า  ผู้นำทางศาสนาไม่มีในอิสลาม”  หรือ  ในศาสนาอิสลามไม่มีผู้นำทางศาสนา”  คำพูดนี้ถูกต้องหรือไม่?  และขัดกับข้อเขียนของท่านอาจารย์ที่ว่า มีคนบังคับให้ตาม  “จุฬา”  ผมถามว่า  จุฬาคือใครมีคนตอบว่า  “คือผู้นำ”  ผมถามว่า  “ผู้นำอะไร”  เพราะในศาสนาเรามีผู้นำหลายประเภท  หลายระดับ…” 


ประโยคที่ว่า เพราะในศาสนาเรามีผู้นำหลายประเภท”  เป็นการยอมรับว่ามีผู้นำในศาสนาของเราใช่หรือไม่?  และผู้นำทางศาสนากับผู้นำในศาสนาต่างกันอย่างไร?  อิมามประจำมัสญิดที่นำละหมาดญะมาอะฮฺและละหมาดวันศุกร์  ใช่ผู้นำทางศาสนาของปวงสัปปุรุษใช่หรือไม่?  หรือเป็นผู้นำทางโลก  หรือเป็นผู้นำนอกศาสนากระนั้นหรือ?

 

คำถามที่ว่า

ในศาสนาอิสลามมีตำแหน่งผู้นำศาสนา  (ที่ไม่มีอำนาจบริหารบ้านเมืองเหมือนคริสต์  ยิว  พุทธ  พราหมณ์  และศาสนาอื่นอย่างนั้นใช่หรือไม่?”

คำตอบก็คือ

ยอมรับหรือไม่เล่าว่าอิมามประจำมัสญิดเป็นตำแหน่งผู้นำศาสนาในการประกอบศาสนกิจ  ทั้งๆ ที่อิมามประจำมัสญิดก็ไม่มีอำนาจบริหารบ้านเมือง  ถ้ายอมรับ  ก็แสดงว่ามี  แล้วจะพูดทำไมว่าในศาสนาอิสลามไม่มีตำแหน่งผู้นำทางศาสนา  ละหมาดญะมาอะฮฺที่ไม่มีอิมามเป็นผู้นำจะเรียกว่า  ละหมาดญะมาอะฮฺได้หรือละหมาดญะมาอะฮฺเป็นเรื่องศาสนกิจในศาสนาใช่หรือไม่  แน่นอน  คงตอบเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจาก  ใช่!  แล้วใครเป็นผู้นำละหมาดญะมาอะฮฺ  ก็ต้องตอบว่าอิมามอยู่ดี

 

และก็ตอบได้อีกด้วยว่า  อิมามคือผู้นำในศาสนาอิสลาม  ไม่ใช่ผู้นำในศาสนาอื่น  และอิมามก็แตกต่างจากผู้นำในศาสนาอื่นอย่างแน่นอน  ไม่ว่าจะเป็นโป๊ป  สังฆราช  แรบไบ  และพราหมณ์  หากถามว่าไม่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?  ก็ตอบได้ว่า

 

พระสันตะปาปา  (โป๊ป)  คือผู้เป็นประมุขคริสต์ศาสนา  นิกายโรมันคาทอลิก  มีอำนาจปกครองคริตจักรและคณะสงฆ์ในคริสต์ศาสนา  ประทับอยู่  ณ  กรุงวาติงกัน  เชื่อในหลักตรีเอกานุภาพ  สืบทอดจากศิลาก้อนแรกที่พระเยซูคริสต์ทรงวางไว้เพื่อตั้งคริสตจักรคือ  เซนต์ปิเตอร์  (เปโตร)  สิ่งใดที่พระสันตะปาปาระบุว่าห้าม  สิ่งนั้นก็เป็นที่ต้องห้ามในสวรรค์แห่งพระเป็นเจ้า  สิ่งใดที่พระสันตะปาปาอนุญาต  สิ่งนั้นก็เป็นที่อนุญาตในสวรรค์แห่งพระเป็นเจ้า

 

แรบไบก็คือนักบวชชาวยิว  ถือในศาสนายูดายเชื่อในพระคัมภีร์เก่า  (คัมภีร์โตร่าห์)  มีหลากหลายนิกายเคร่งครัดในธรรมเนียมแบบยิว

 

สังฆราช  เป็นตำแหน่งพระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดในสังฆมณฑล  เป็นพระสงฆ์ในพุทธศาสนา  ถือคัมภีร์พระไตรปิฎกและยึดมั่นในพระรัตนตรัย  คือ  พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์และเป็นที่เคารพบูชาของพุทธบริษัทตลอจนมีสมณศักดิ์  ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปรินายก

 

ส่วนพราหมณ์เป็นคนในวรรณที่  1  แห่งสังคมฮินดู  เป็นผู้ที่ถือเพศไว้ผม  นุ่งขาวห่มขาวและเป็นผู้สาธยายมนตร์  ประกอบพิธีกรรมในการบูชาเทพเจ้าของฮินดู  ที่กล่าวมาทั้งหมดแตกต่างโดยสิ้นเชิง  จากผู้นำศาสนาอิสลาม  โดยเฉพาะความเป็นพระสงฆ์หรือนักบวช  ความเชื่อและวิถีปฏิบัติและที่สำคัญพึงระวังในการนำเอาผู้ศรัทธาไปเปรียบกับผู้ที่ไม่ศรัทธา  เพราะไม่เหมือนกัน

أَفَمَن كَانَ مُؤْمِنًا كَمَن كَانَ فَاسِقًا ۚ لَّا يَسْتَوُونَ

“บุคคลที่เป็นผู้ศรัทธาเหมือนกับผู้ที่ฝ่าฝืนกระนั้นรึ?  พวกเขาย่อมไม่เท่าเทียมกัน”  (อัสสะญะดะฮฺ  :  18)

 

แต่ถ้าจะค้านว่า  เราพูดถึงเรื่องความเหมือนของผู้นำศาสนาที่ไม่มีอำนาจปกครองบ้านเมือง  เราไม่ได้พูดถึงเรื่องศาสนาหรือความเชื่อ!  ทุกอย่างก็จะย้อนและวกกลับไปยังเรื่องที่วิเคราะห์มาแล้ว  ก็ขอให้ย้อนกลับไปอ่านอีกครั้งว่าเราถกประเด็นนี้มาแล้วหรือยัง

 

ส่วนประเด็นการตรากฎหมาย  ลักษณะกฎหมาย  และผู้นำมุสลิมในรัฐที่ไม่ใช่อิสลาม  ที่ท่านอาจารย์ระบุมาเป็นข้อๆ ในข้อเขียนนั้น  ข้าพเจ้าขอละเอาไว้ก่อนเหมือนอย่างที่อาจารย์เขียนมานั่นแหล่ะ  ว่าเป็นประเด็นที่ต้องวิเคราะห์เจาะลึกและศึกษาต่อไป  และเหตุที่ข้าพเจ้าต้องละเอาไว้  ก็มิใช่ว่าข้าพเจ้าไม่มีข้อคิดเห็น  หรือไม่ปรารถนาจะซักค้านแต่เนื่องจากเกรงใจผู้อ่านบทความ

 

เพราะอาจารย์กรุณาตั้งคำถามเสียพะเรอเกวียน  ที่ปริ้นต์เนื้อหามาจากเฟสบุ้คของอาจารย์ก็แค่ประมาณ  4  หน้ากระดาษ  แต่บทความนี้ก็กินหน้ากระดาษไปมากโข  ก็ขอให้อาจารย์ได้รับรู้ไว้เถิดว่า  หนังสือ  ตำรา  หรือข้อเขียนใดๆ ที่มีผู้หยิบขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์หรือวิเคราะห์ตรวจสอบ  นั่นย่อมแสดงว่าหนังสือ  ตำรา  หรือข้อเขียนนั้นได้ถูกต่อยอดในเชิงวิชาการแล้ว และที่สำคัญแสดงว่ามีคนอ่านและสนใจ  มิใช่ถูกมองข้ามและไม่มีใครสนใจ 

 

และข้าพเจ้าก็เข้าใจว่า  การเขียนลงเฟสบุ้คเป็นการเขียนแบบปัจจุบันทันด่วน  คิดอะไรได้  นึกอะไรออกก็เขียนโดยพลัน  จนทำให้บ่อยครั้งที่หละหลวม  จะอ้างตำราสักเล่มหรือดูหลักฐานให้ละเอียดแล้วค่อยนำมาเขียนตอบ  ดูจะไม่ทันใจ  เหตุนี้แหล่ะผมจึงไม่เขียนอะไรลงในเฟสบุ้คอย่างที่นิยมกระทำกัน  เพราะเนื้อหาอาจจะคลาดเคลื่อนและผิดเพี้ยนได้  พอมีคนมาคอมเม้นท์ในเชิงไม่เห็นด้วย  ก็ตอบแบบสวนทันควัน  ต่อความยาวสาวความยืด  แบบไม่รู้จบสิ้น  เฟสบุ้คจึงกลายเป็น  “เฟะบุ๊”  ไปในที่สุด

 

ข้าพเจ้าจึงมีข้อเสนอต่อท่านอาจารย์ว่า  หากอาจารย์จะกรุณาและเห็นแก่การเปิดประตูแห่งการเรียนรู้และศึกษา  ได้โปรดเขียนเป็นบทความในเชิงวิชาการจะดีกว่าไหม  จะเป็นบทความวิภาษหรือหักล้างข้อซักค้านของข้าพเจ้าก็ได้  จะได้เป็นการเติมเต็มและต่อยอดทางวิชาการจริงๆ

 

เนื้อหาในบทความนี้  ข้าพเจ้าได้พยายามหลีกเลี่ยงการเยาะเย้ย  ถากถาง  การประณาม  การเหน็บแนม  การกระแนะกระแหน  และความกักขฬะหยาบคายอย่างที่อาจารย์เรียกร้องเท่าที่สามารถจะกระทำได้  อาจจะมีบางถ้อยคำ  หรือบางประโยคที่อ่านแล้วก่อให้เกิดความรู้สึกว่าเข้าข่ายสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นอยู่บ้าง  ไม่มากก็น้อย  หากเป็นเช่นนั้น  ข้าพเจ้าก็ต้องขอมะอัฟไว้ด้วย    ที่นี้  เพราะนั่นเป็นความบกพร่องของมนุษย์เฉกเช่นข้าพเจ้า  และความสมบูรณ์อันพิสุทธิ์เป็นสิทธิของเอกองค์อัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น 

 

และข้าพเจ้ามิปรารถนาสิ่งใดในการกิจนี้  นอกเสียจากสิ่งที่อัลกุรอานได้ระบุไว้ถึงสุนทรพจน์ของท่านนบีชุอัยบฺ  (อะลัยฮิสลามผู้ใดชื่อว่า  นักกล่าวสุนทรพจน์  (เคาะฏีบของเหล่านบีที่ว่า

وَمَا أُرِيدُ أَنْ أُخَالِفَكُمْ إِلَىٰ مَا أَنْهَاكُمْ عَنْهُ ۚ إِنْ أُرِيدُ إِلَّا الْإِصْلَاحَ مَا اسْتَطَعْتُ ۚ وَمَا تَوْفِيقِي إِلَّا بِاللَّـهِ ۚ عَلَيْهِ تَوَكَّلْتُ وَإِلَيْهِ أُنِيبُ
( سورة هود : ٨٨ )

وصلى الله وسلم على سيدنا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين
وآخر دعوانا أن الحمد لله رب العالمين

( أبوالريمي على أحمدأبوبكر محمدآمين الأزهرى الشافعى السيامي )
خويدم طلبة العلم الشريف
بمعهد المجلس الديني
بانكوك ، سوانلوانج

 


ข้อความ และรูปภาพ Capture จาก https://www.facebook.com/ishak.phongmanee